LASTEST NEWS

12 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านสันทรายมูล รับสมัครครูผู้สอนระดับปฐมวัย เงินเดือน 7,000 บาท  12 พ.ค. 2567ผลตรวจ TCAS67 พบข้อสอบผิดพลาด 6 ข้อ ปรับแก้คะแนนผู้เข้าสอบแล้ว 12 พ.ค. 2567สพฐ.หนุนตั้งศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในรพ. 77 จังหวัด 11 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านดอนกรูด ปีการศึกษา 2567 ติดแอร์ทุกห้องเรียน 11 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 พ.ค. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model เพ

usericon

ชื่อรายงานวิจัย : พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model เพื่อเสริมสร้างทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง วิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย     : นางสาวสัญติ์ญา แก้วกัญหา
หน่วยงาน    : โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่ทำการวิจัย : พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 S : Survey การสำรวจเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการสร้าง/พัฒนานวัตกรรม ขั้นตอนที่ 2 P : Product/ Innovation Development การสร้างและพัฒนานวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 I: Implementation การทดลองเพื่อตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 4 E : Evaluation & Revision การประเมินและปรับปรุง ในขั้นตอน การทดลองเพื่อตรวจสอบรูปแบบฯ นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (Dependent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ฟิสิกส์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง พบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงค่อนข้างน้อยมีสาเหตุมาจากหลายประการ ทั้งปัญหาเกี่ยวกับตัวครู คือ ครูผู้สอนไม่เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนรู้ ขาดใช้สื่ออุปกรณ์ ใช้วิธีสอนแบบบรรยาย ปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน นักเรียนสนใจวิชาฟิสิกส์น้อย เป็นวิชาที่นักเรียนไม่ค่อยเข้าใจเนื่องจากมีการใช้คณิตศาสตร์และความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอน ขาดสื่อการเรียนการสอนและแบบทดสอบที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์ ไม่ทันสมัย แผนการจัดการเรียนรู้ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วน และที่สำคัญคือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่ครูจะเป็นผู้อธิบายให้ความรู้ในเนื้อหาหรือให้นักเรียนศึกษาจากใบความรู้ ใบงาน หนังสือ โดย ครูและนักเรียนมีความต้องการให้การเรียนรู้เป็นลักษณะที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นผ่านกิจกรรมการทดลอง การสืบเสาะหาความรู้ ที่เป็นกระบวนการขั้นตอนของการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจะเป็นวิธีการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดจิตวิทยาศาสตร์อย่างยั่งยืน
2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ (7E) และการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Active Learning) ร่วมกับแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) และทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning Theory) โดยมีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) บทบาทครู 5) บทบาทนักเรียน 6) บรรยากาศการเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล เรียกว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 M : Motivation ขั้นกระตุ้นความสนใจใฝ่เรียนรู้ ขั้นที่ 2 O : Observation ขั้นสังเกตสำรวจปัญหา ขั้นที่ 3 B : Brainstorming ขั้นระดมสมองค้นคว้าพัฒนา ขั้นที่ 4 T : Transferring ขั้นถ่ายโอนความรู้สู่การออกแบบใหม่ๆ ขั้นที่ 5 E : Extension ขั้นเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงาน และ ขั้นที่ 6 C : Concluding ขั้นสรุปความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ โดยรูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ 82.33/82.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3) ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ MOBTEC Model มีค่าเฉลี่ยรวม 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด
ya.san33 03 ก.พ. 2564 เวลา 14:09 น. 0 455
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^