LASTEST NEWS

12 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านสันทรายมูล รับสมัครครูผู้สอนระดับปฐมวัย เงินเดือน 7,000 บาท  12 พ.ค. 2567ผลตรวจ TCAS67 พบข้อสอบผิดพลาด 6 ข้อ ปรับแก้คะแนนผู้เข้าสอบแล้ว 12 พ.ค. 2567สพฐ.หนุนตั้งศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในรพ. 77 จังหวัด 11 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านดอนกรูด ปีการศึกษา 2567 ติดแอร์ทุกห้องเรียน 11 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 พ.ค. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดฯ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
            แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
            สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย            นางอรญา พรมแดน
พ.ศ.            2562

บทคัดย่อ
    
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนในช่วงเวลาระหว่างเรียน 3.3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๒ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางxxxร) สังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling Unit) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนผู้เรียน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัด การเรียนรู้ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 2 ฉบับ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
1.1 ข้อมูลพื้นฐานเชิงนโยบายการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนทางด้านการคิด โดยกำหนดไว้เป็นสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน 5 ประการ ตลอดจนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ยังพบว่าผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนต่ำทั้งจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับนานาชาติ การประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับชาติ และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง
1.2 ผลการวิเคราะห์ผู้เรียนโดยการสัมภาษณ์ผู้เรียน โดยสรุปผู้เรียนคุ้นเคยกับการ
ฟังบรรยายโดยส่วนใหญ่จะไม่กล้าซักถาม ไม่มีส่วนร่วมในการอภิปรายถามตอบ ผู้เรียนที่ตั้งใจเรียนจะมีพฤติกรรมในการตั้งใจฟังจดบันทึกไม่คุยและมีผู้เรียนจำนวนไม่น้อยที่ขาดสมาธิในการเรียนถึงแม้จะไม่คุย แต่ไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียน ซึ่งวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนในลักษณะนี้ทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการฝึกทักษะกระบวนการคิด การเชื่อมโยงความรู้ความคิด รวมทั้งจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการฟังบรรยาย ไม่กล้าซักถาม ผู้เรียนขาดการตระหนักรู้ในคุณค่าของกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
2.1 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และ 3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้กระบวนการเรียนการสอน
2.2 ผลการหาประสิทธิภาพ (E1/ E2) โดยการทดลองแบบกลุ่มใหญ่ (Field Try
out) ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/ E2) เท่ากับ 86.07/86.13
3. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน
3.1 หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01
3.2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ พัฒนาขึ้นในช่วงเวลา
ระหว่างเรียนจากระดับสูงเป็นระดับสูงมากโดยที่ระยะที่ 1 อยู่ในระดับสูง ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะ ที่ 4 และระยะที่ 5 อยู่ในระดับสูงมาก
3.3 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ
oraya161023 26 ม.ค. 2564 เวลา 10:58 น. 0 444
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^