LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบ

usericon

หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่
เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
(Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมการจัดทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์เรื่อง พลังงานความร้อน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ไพรินทร์ สุขโข
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและประเมิน
ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้าง
ทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้
โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการ
เรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ดังนี้(1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
เรื่อง พลังงานความร้อน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้(2) ประเมินความสามารถในการจัดทำโครงงาน
หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) ประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้และ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างคือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2562โรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรม
เสนานีวรคุณ) สังกัดเทศบาลเมืองโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยประกอบด้วย 1) ประเด็นสนทนากลุ่มกับนักเรียน 2) ประเด็นสนทนากลุ่มกับครูวิทยาศาสตร์3)
แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน 5) แบบประเมินความสามารถในการจัดทำโครงงาน 6) แบบ
ประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการ และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา
ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (
X
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ของนวัตกรรม
การหาค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
ร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการ
จัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่
กำหนด 80/80 ปรากฏผล ดังนี้
1.1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
ความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จคือ ครูควรมีการตั้งคำถาม
ถามโดยใช้คำที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ทำกิจกรรมมากกว่าการบรรยาย โดยมีสื่อ
เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เพียงพอ ครูควรกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม และอนุญาตให้นักเรียนใช้
เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลขณะเรียนได้ ควรมีขนาดห้องเรียนขนาดใหญ่ มีพัดลม แสง ที่เพียงพอ ครูมี
ความเป็นกันเองกับนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเมื่อเกิดข้อสงสัยได้และใช้สื่อหลากหลายที่มีทั้ง
ภาพและเสียง ครูมีการจัดการเรียนรู้โดยการทดลองหรือโครงงานอย่างเป็นระบบ มีการประเมินผลในระหว่าง
และหลังการจัดการเรียนรู้และแจ้งให้นักเรียนทราบความก้าวหน้า และข้อบกพร่องของตนเอง วิธีการประเมิน
คือ ประเมินกิจกรรมกลุ่ม ภาระงาน ถาม-ตอบ แบบทดสอบ ในขณะที่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า
องค์ประกอบของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้น
โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative
Learning) มีความเหมาะสม มีหัวข้อและรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดการ
เรียนรู้และภาพของโมเดลมีความเชื่อมโยงในแต่ละขั้นตอน กระบวนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและมี
ความต่อเนื่องสอดคล้องกัน การจัดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาความคิดขั้นสูงได้ การนำสื่อและเทคโนโลยี
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามร่างรูปแบบมีความเหมาะสม วิธีการประเมินผล สามารถเสริมสร้างความสามารถ
ในการจัดทำโครงงานและความสามารถด้านทักษะกระบวนการของนักเรียนได้และเห็นด้วยกับการนำรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า
ด้านเนื้อหาสาระที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ควรเป็นเนื้อหาตามหลักวิชาการที่ตรงตาม
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้
เห็นด้วยกับการเน้นการสอนโดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ โดยขอให้เปิดโอกาสให้
นักเรียนเป็นผู้คิดเกี่ยวกับโครงงานเอง และใช้สื่อการสอนที่สนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เป็นรูปธรรมได้
ส่วนองค์ประกอบของรูปแบบควรมีทั้งองค์ประกอบเชิงโครงสร้าง องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และควร
กำหนดเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ควร
แยกเนื้อหาออกเป็นเรื่องย่อย ๆ มี ใบความรู้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน การวัดผลและประเมินผล ควรมีทั้ง
แบบทดสอบ และแบบสังเกตพฤติกรรม
1.2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1)
องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวัตถุประสงค์2) โครงสร้างเชิง
กระบวนการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้(SCASAEK Model) ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้น
กระตุ้นผู้เรียน (Stimulation) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction) ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์และลงข้อสรุป
(Analysis and Summarization) ขั้นที่ 4 ขั้นประยุกต์ใช้ (Application) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล
(Evaluation) ขั้นที่ 6 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และการวัดและประเมินผล และ 3)
เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ
1.3 ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบฉบับร่างมีค่าความ
สอดคล้องเชิงโครงสร้างและกระบวนการด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ค่าความเป็นไปได้และค่าความ
เหมาะสมและสอดคล้องของรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหา
ความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
(Cooperative Learning) มีค่าเท่ากับ 80.48/80.67
2. การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิค
การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบ
ร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) พบว่า
2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานความร้อน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการจัดทำโครงงานหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใน
ภาพรวม นักเรียนมีความสามารถในการจัดทำโครงงานอยู่ในระดับสูง
2.3 ความสามารถด้านทักษะกระบวนการของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้ในภาพรวม นักเรียนมีทักษะกระบวนการอยู่ในระดับสูง
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม นักเรียนมีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^