LASTEST NEWS

10 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 10 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 09 พ.ค. 2567สพม.นครปฐม ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 09 พ.ค. 2567สพป.นครปฐม เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 09 พ.ค. 2567สพป.นครปฐม เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 09 พ.ค. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 24 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 46 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก

usericon

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะ
                การพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย                 นางจุราภรณ์ ปฐมวงษ์
ปีที่ทำการวิจัย         ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

    การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การทดลองรูปแบบการเรียนรู้ ขั้นที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 25 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเหมาะสมของร่างรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 ข้อ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 27 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ข้อ 3. เพื่อทดลองรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ข้อ 3) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 21 ข้อ
    การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
        1.1 องค์ประกอบของรูปแบบมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน 4) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอนตามรูปแบบของผู้วิจัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการสอน (Preparing) ขั้นศึกษาความรู้ (Educating) ขั้นปฎิบัติกิจกรรม (Practicing) ขั้นสรุปความรู้ (Comprehending) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presenting)
        1.2 ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
        1.3 การสอนปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบใหญ่ๆ 1) รูปแบบที่ 1 คือ จัดการเรียนการสอนโดยอิงหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ 2) รูปแบบที่ 2 คือ เรียนผ่านทีวีทางไกลผ่านดาวเทียม จัดการเรียนการสอนโดยอิงจากหนังสือเรียนของนักเรียนเอาเนื้อหาในหนังสือเป็นหลักแล้วคิดกิจกรรมให้สอดคล้อง 3) รูปแบบที่ 3 เป็นรูปแบบ ปัญหาด้านในการเรียนการสอนของครูไทย คือ พื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียนในชั้นเรียน ครูมีภาระงานอื่นนอกจากงานสอน จำนวนครู ไม่เพียงพอ แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้การสอนแบบเชิงรุก (Active learning) ประสบความสำเร็จ คือ ครูจัดบรรยากาศในการเรียนรู้กำหนดสถานการณ์ปัญหาที่ใกล้เคียงสภาพจริงและมีประเด็นหลากหลายแง่มุมและเหมาะสมกับการเรียนรู้ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและเหมาะสม จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้คิดและแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนให้คำแนะนำช่วยเหลือ
    2. การสร้างรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
        2.1 รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน 4) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอนตามรูปแบบของผู้วิจัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการสอน (Preparing) ขั้นศึกษาความรู้ (Educating) ขั้นปฎิบัติกิจกรรม (Practicing) ขั้นสรุปความรู้ (Comprehending) ขั้นนำเสนอผลงาน (Presenting) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการทดลองใช้ครั้งที่ 3 ที่มีค่าเท่ากับ 81.00/80.92 เป็นไปตามเกณฑ์ค่าประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80
    3. ผลการทดลองรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
        3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 83.23/83.03
สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
        3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3.3 นักเรียนมีทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก




kruor2015 28 ธ.ค. 2563 เวลา 21:09 น. 0 306
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^