ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษ
ปีการศึกษาที่ทดลอง: 2555
บทคัดย่อ
รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์และดำเนินการ ดังนี้
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านประเมินความเหมาะสมของเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 3 คน เพื่อตรวจสอบการสื่อความหมายของภาษา และความเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้ในเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 9 คน และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน เพื่อหาประสิทธิภาพได้ประสิทธิภาพ 83.20/82.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า E1/ E2
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test dependent)
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้กรอบแนวคิดในการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพ 83.20/82.13
ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2.นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 )