LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในการพัฒนาวิชาชีพครู

usericon

การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ผู้เขียนบทความ นางสาวนิภาพร ชาติสุข ตำแหน่งครู     

บทนำ
การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาอย่างรวดเร็ว สำหรับศตวรรษที่ 21 ได้ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังทักษะที่จำเป็น เช่น ทักษะในการคิดขั้นสูง ทักษะชีวิตและการทำงาน เป็นต้น ควบคู่กับเนื้อหาในสาระวิชาหลักและความรู้อื่นที่สำคัญ โดยมีการศึกษาคือเครื่องมือในการพัฒนามนุษย์ให้มีความพร้อมในการรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นการศึกษาจึงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคม
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในยุค Thailand 4.0 ซึ่งมีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษาของไทยจึงถึงเวลาปรับเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างผลผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาโดยกำหนดนโยบายมุ่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีแนวคิดว่าครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนให้เป็นคนมีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดผลกระทบต่อผู้เรียน นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามศาสตร์พระราชาด้วย Active Learning และ Professional Learning Community (PLC) สู่คุณภาพ Thailand 4.0 ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่เกิดจากการรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษาในโรงเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) ดังนั้นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) จึงมีความเหมาะสมในการพัฒนาครูและส่งเสริมครูให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาในการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ วิเคราะห์ไม่เป็นและแก้ปัญหาไม่ได้ของผู้เรียน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) มีพื้นฐานมาจากภาคธุรกิจเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการเรียนรู้ (Thompson, Gregg & Niska, 2004) หมายถึง เป็นการรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ อยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ ค่านิยม เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน กล่าวได้ว่า PLC เกิดจากการประยุกต์แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Senge, 1990) ประยุกต์สู่โรงเรียนแห่งการเรียนรู้ (Senge et al., 2000) การเปลี่ยนเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าการทำงานและการเรียนรู้ของวิชาชีพครูไม่สามารถทำอย่างโดดเดี่ยว แบ่งแยกกันทำตามสายงาน หรือทำงานภายในกรอบแนวคิดเดิมที่มุ่งเน้นเนื้อหาเพื่อสอนมากกว่าการเรียนรู้ (Ministry of Education, 2010)
จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนขนาดกลางและเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ มีปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้ออำนวยโรงเรียนเป็นอย่างดี แต่โรงเรียนยังมีจุดอ่อนที่ควรเร่งแก้ไข เพื่อพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น โรงเรียนหนองนาคำวิทยาคมจึงตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยการขับเคลื่อนด้วย “นวัตกรรม”รวมถึงการดำเนินงาน “ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ” (Professional Learning Community: PLC) ในระดับสถานศึกษา เป็นการสนองต่อนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ให้ดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการเรียนการสอนเพื่อเติมเต็มศักยภาพให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมให้นักเรียนคิดได้ ทำได้อย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในการใช้พัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในการใช้พัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม

วิธีการดำเนินงาน
จากการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ของบุคลากรในโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา ได้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ที่ท้าทายและสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม จำนวน 2 วงรอบ วงรอบละ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นวางแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดแนวทางการดำเนินงานพร้อมทั้งเกณฑ์การประเมินผลตามเป้าหมายของโรงเรียน
1.2 พัฒนาคู่มือการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา มีแผนการขับเคลื่อน PLC ในสถานศึกษาที่ชัดเจน และสร้างต้นแบบ Log Book ให้กับคณะครูทุกคน
1.3 พัฒนาเครื่องมือนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา
     1.4 ประชุมชี้แจง ให้ความรู้ คณะครู และร่วมอภิปรายถึงวัตถุประสงค์และคุณค่าของการสร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (Professional learning community) หรือ PLC ที่เน้นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูโดยเน้นการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมแรงร่วมใจในการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพโดยมีความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร
2. ขั้นดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ดำเนินการดังนี้
2.1 ใช้กระบวนการ PLC ในการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
2.2 กระตุ้นการการเรียนรู้ของนักเรียน สร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างจริงจัง
2.3 จัดเวทีการสะท้อนคิดและสะท้อนผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best practice) ยกย่องเชิดชูเกียรติ และจัดประชุมเพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานและพัฒนาคู่มือการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา
2.4 ครูบันทึกผลการปฏิบัติงานใน Log Book
3. ขั้นการตรวจสอบคุณลักษณะของ PLC ในสถานศึกษา
3.1 คณะดำเนินงานนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและสังเกตชั้นเรียนอย่างเข้มข้นโดยเน้นกระบวนการสะท้อนคิด (Reflection)
3.2 คณะดำเนินงานประเมินการปฏิบัติงานและสะท้อนผลในการจัดการเรียนการสอนของครู
4. การทบทวนการดำเนินงาน PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
4.1 นำผลการประเมินมาวิเคราะห์และพัฒนาการดำเนินงานครั้งต่อไปและสรุปผลการประเมิน

ผลการดำเนินการ
จากการศึกษาองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม (Share values and vision) 2) การแลกเปลี่ยนการปฏิบัติงานระหว่างบุคคล (Shared personal practice) 3) การสนับสนุนและการมีภาวะผู้นำร่วมกัน (Supportive and Shared leadership) และ 4) ทีมร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative teamwork) (ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์, 2560)
การดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม มีกิจกรรมดังนี้ 1) มีการประชุม อบรมให้ความรู้สร้างความตระหนัก และสร้างข้อตกลงร่วมกัน (MOU) ในการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา 2) มีการนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและสังเกตชั้นเรียนอย่างเข้มข้น 3) มีการจัดเวทีการสะท้อนคิดและสะท้อนผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best practice) ยกย่องเชิดชูเกียรติ และจัดประชุมเพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานและพัฒนาคู่มือการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา 4) มีการกระตุ้นการการเรียนรู้ของนักเรียน สร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างจริงจัง 5) มีการพัฒนาคู่มือการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่สถานศึกษา มีแผนการขับเคลื่อน PLC ในสถานศึกษาที่ชัดเจน และสร้างต้นแบบ Log Book ให้กับคณะครูทุกคน 6) มีการใช้กระบวนการ PLC ในการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และ 7) มีการพัฒนาเครื่องมือนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา
การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ของบุคลากรในโรงเรียนหนองนาคำวิทยาคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีการศึกษา พบว่าผู้บริหาร ครูและบุคลากรของโรงเรียนที่เข้ารับการพัฒนาสามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปขับเคลื่อนและจัดกิจกรรม PLC ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จากการนำนวัตกรรมหรือ Best practice มาใช้ พบว่ามีผลดังนี้
ประเด็นที่ 1 นักเรียนเกิดพลังการเรียนรู้ จากการปฏิบัติงานพบว่านักเรียนเกิดพลังการเรียนรู้ คือ มีความสุขในการเรียนรู้มากขึ้น สามารถอ่านหนังสือออก เขียนหนังสือเป็น และสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถทำงานเป็นทีมได้ และเรียนรู้ร่วมมือกันอย่างมีความสุข
ประเด็นที่ 2 ครูและบุคลากรทางการศึกษาลดความโดดเดี่ยวและมีความผูกพันต่อพันธะกิจและเป้าหมายของโรงเรียน จากการปฏิบัติงานค้นพบว่า ครูลดความโดดเดี่ยวในการทำงานลง เนื่องจากมีเพื่อนร่วมงานที่สามารถหาสาเหตุของปัญหาที่พบในชั้นเรียน จากการใช้กระบวนการสะท้อนคิดและสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Best practice) ระหว่างครูในกลุ่มสาระฯ เดียวกัน และครูต่างกลุ่มสาระฯ ทำให้ครูมีเพื่อนในการทำงาน และหลังจากการเรียนการสอนยังได้รับการสะท้อนผลจากเพื่อนครูด้วยกัน และจากทีมนิเทศการสอน ทำให้ครูมีกำลังใจในการทำงาน และทำงานได้ง่ายขึ้น ลดความโดดเดี่ยวในการทำงาน สอดคล้องกับ Rosenholtz (1989) ได้ทำการวิจัยพบว่า “ครูที่มีความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถจะปรับปรุงตนเองและยอมรับ พยายามพัฒนาวิชาชีพของตนเอง”
ประเด็นที่ 3 โรงเรียนได้รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมกับโรงเรียน โดยมีการลดภาระงานครู ให้ครูช่วยเหลือครูด้วยกัน และมีทีมนิเทศที่ให้คำปรึกษาในการเรียนการสอนของครูด้วย ส่งผลไปยังนักเรียนที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนเรียนในชั้นเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ Darling & Bransford (2005) ได้พยายามพัฒนามาตรฐานระดับชาติของครูที่สะท้อนผลถึงสิ่งที่ครูต้องการในการสอนนักเรียนที่มีความหลากหลาย งานวิจัยของพวกเขามีจุดเน้นที่ครูยิ่งรู้จักนักเรียนของตนเองดีเท่าไร ก็ยิ่งสามารถช่วยนักเรียนในการเรียนรู้ได้เร็วขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ในงานวิจัยยังเน้นว่า นักเรียนที่ครูต้องรู้จักมีความต้องการครูที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้มีการพัฒนาแนววิถีการเรียนรู้และพัฒนาขององค์กรแบบโรงเรียนที่เรียกว่า PLC อย่างหลากหลายรูปแบบในบริบทต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของในยุคศตวรรษที่ 21
ประเด็นที่ 4 รูปแบบกระบวนการ PLC มีการทำงานเป็นวงรอบ จำนวน 2 วงรอบ วงรอบละ 4 ขั้นตอน จนได้รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 1) การวางแผนการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในสถานศึกษา 2) การดำเนินการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา 3) การตรวจสอบคุณลักษณะของ PLC ในสถานศึกษา 4) การทบทวนการดำเนินงาน PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา เพื่อนำกระบวนการ PLC ของโรงเรียนที่ได้ใช้นำมาพัฒนาต่อยอด PLC สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาที่ยั่งยืน

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพเป็นผู้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ Thailand 4.0
2. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3. โรงเรียนได้รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในการใช้พัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยความสำเร็จ
1. ชุมชนให้ความร่วมมือในการทำงานโรงเรียนในทุกด้าน เช่น เป็นวิทยากรให้ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้
2. เป็นโรงเรียนขนาดกลางและเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ จึงมีความคาดหวังและเป้าหมายเน้นการเรียนการสอนของนักเรียน
3. ผู้อำนวยการให้ความสำคัญในกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้รูปแบบกระบวนการ PLC ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความร่วมมือ เปิดใจพร้อมยอมรับนวัตกรรม รวมทั้งปรับปรุงจุดด้อยหรือปัญหาที่พบอย่างร่วมมือกัน
5. นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน รวมทั้งให้ความสนใจและมีความสุขในการเรียน

ข้อเสนอแนะ
    1. การนำนวัตกรรมมาใช้ต้องใช้เวลาและให้กำลังใจคณะครู เนื่องจากการเริ่มต้นกระบวนการ PLC จะต้องมีภาระงานเพิ่มแต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ จะเกิดความคล่องตัวและทำให้ครูรู้ปัญหานักเรียนและสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้
    2. ครูจะต้องเปิดใจยอมรับคำแนะนำในการเรียนการสอน เพราะถ้าครูยอมรับคำแนะนำหรือการสะท้อนผลจะทำให้ครูสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ และทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ


การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
    1. โรงเรียนได้มีการสร้าง Log Book สำหรับครูไว้ใช้ในการบันทึกผลการปฏิบัติงาน และบันทึกการสะท้อนผลที่ใช้กระบวนการสะท้อนคิดและสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Best practice)
    2. จากการนำนวัตกรรมมาใช้ในโรงเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2560 ของนักเรียนเพิ่มขึ้น และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มขึ้น 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้

บรรณานุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ของ
กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.reo9.moe.go.th
ธีรพงษ์ แสงสิทธิ์. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Darling-Hammond, L. & Bransford, J. (2005). Preparing teachers for a changing world: What teachers
should learn and be able to do. San Francisco: Jossey-Bass.
Ministry of Education, Singapore. (2010). Building a National Education System for the 21st century: The
Singapore Experience. Singapore: Ministry of Education.
Rosenholtz, S. J. (1989). Teachers’ workplace: The social organization of schools. New York: Longman.
Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York, NY:
Doubleday.
Stringer, E.T. (1999). Action research. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Thompson, S.C., Gregg, L. & Niska, J. M. (2004). Professional learning communities, leadership and
student learning. Research in Middle Level Education, Online, from
http://www.nmsa.org/Publications/RMLEOnline/tabid/101/Default.aspx
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^