LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการจักสานเตยปาหนัน ชั้นประถมศึกษาป

usericon

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการจักสานเตยปาหนัน ชั้นประถมศึกษาป
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการจักสานเตยปาหนัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องการจักสานเตยปาหนัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนบ้านดุหุน จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2555
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นางธัญวรัตม์ ตั้งคีรี
โรงเรียนบ้านดุหุน จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2555

บทคัดย่อ
    การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น จัดทำขึ้นควบคู่กับหลักสูตรแกนกลาง โดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ภูมิปัญญา และความต้องการของชุมชนและสังคม เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตของตนเองในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดุหุน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) หลักสูตรท้องถิ่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน และ 5) แบบสำรวจความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร6) แบบประเมินการปฏิบัติงานกลุ่มและรายบุคคล และ 7) แบบประเมินหลักสูตรโดยใช้เทคนิคปุยซองค์ Puissance Measure (P.M.) โดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และ t – test
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การจักสานเตยปาหนัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคปุยซองค์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.60 หมายความว่า หลักสูตรท้องถิ่นมีคุณภาพปานกลางหรือใช้ได้ ผลการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.05/88.23 (E1/E2) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 0.7309 หมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 73.09 นักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่น โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
    โดยสรุป หลักสูตรท้องถิ่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเป็นการช่วยอนุรักษ์คุณค่า ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ และเป็นการตอบสนองนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


123456789 23 ต.ค. 2556 เวลา 15:36 น. 0 2,036
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^