LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้วิจัย        นางชิดารัณย์ จิตสำรวย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย        พ.ศ. 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (4.1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (4.2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (4.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) คู่มือครูสำหรับใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ (4) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ จำนวน 25 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ (t - test)
    ผลการวิจัยพบว่า
1. การสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) การวัดและประเมินผล
1.2 การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานประกอบด้วยการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า (Face-to-Face) และการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ (Online Learning)
1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นสังเคราะห์ความรู้
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินค่าของคำตอบ
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นนำเสนอและประเมินผล
1.4 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) 1. ทักษะการแก้ปัญหา 2. ทักษะการให้เหตุผล 3. ทักษะการสื่อสารการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ 4. ทักษะการเชื่อมโยงความรู้ 5. ความคิดสร้างสรรค์
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านได้ประเมินและรับรองคุณภาพแล้ว พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้งหมดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/83.63 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ .6557 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 65.57และผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05
4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.98/83.96
4.2 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ .6658 แสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 66.58
4.3 ผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.4 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดความยาว ความสูง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก

2520yongyuth 05 มิ.ย. 2563 เวลา 11:00 น. 0 451
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^