LASTEST NEWS

13 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลป่าโมก (วัดโบสถ์สายทอง) รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 7,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 17 พ.ค.2567 12 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านสันทรายมูล รับสมัครครูผู้สอนระดับปฐมวัย เงินเดือน 7,000 บาท  12 พ.ค. 2567ผลตรวจ TCAS67 พบข้อสอบผิดพลาด 6 ข้อ ปรับแก้คะแนนผู้เข้าสอบแล้ว 12 พ.ค. 2567สพฐ.หนุนตั้งศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในรพ. 77 จังหวัด 11 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านดอนกรูด ปีการศึกษา 2567 ติดแอร์ทุกห้องเรียน 11 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 พ.ค. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษา

usericon

ชื่อเรื่อง        รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษา
            โรงเรียนบ้านบะแค โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้วิจัย            นายธานินทร์ เลิศพันธ์

ปีที่วิจัย        2562

สถานศึกษา     โรงเรียนบ้านบะแค ตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น
            สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 34 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นจำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่มจากผู้ร่วมวิจัยและแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่การพรรณนาวิเคราะห์
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลจากการศึกษาสภาพการณ์และสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบะแค ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านบะแค โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ มาใช้การประกอบการกำหนดร่างรูปแบบซึ่งได้ร่างรูปแบบการมีส่วนร่วมใน 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินงาน ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ และด้านการประเมินผล
        2. ผลจากการประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านบะแค สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การนำรูปแบบการมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจไปปฏิบัติอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านที่เหลือมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ รองลงมา ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการดำเนินงานและด้านการประเมินผล ตามลำดับ
        รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมที่ค้นพบนี้ สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ตามวัตถุประสงค์เพราะทำให้ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เกิดการพัฒนาความรู้ ความคิด มีความตระหนักต่อความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตน โดยเฉพาะนักเรียนมีการเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นคนมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรองใคร่ครวญ มีความขยัน อดทน ประหยัด รับผิดชอบต่อการเรียนมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง ก่อนและหลังดำเนินการพัฒนา มีการพัฒนา “คน” ให้เข้าใจในความพอเพียง มีปัญญา กล้าหาญ ยืนหยัดในการ “พึ่งตนเองอย่างพอเพียง” ปฏิบัติกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบ เอาใจใส่ดูแล มีการติดตามผล ประเมินผลและเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้

innova 24 พ.ค. 2563 เวลา 21:37 น. 0 386
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^