LASTEST NEWS

01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 01 พ.ค. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 49 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 2 01 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด ! สพฐ. มีคำสั่ง ย้ายและแต่งตั้ง ข้าราชการครูฯ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 01 พ.ค. 2567ศธ.รณรงค์ไหว้ครูที่ถูกต้องตามประเพณีที่ดีงาม หลังเสนอ “พิธีไหว้ครู”เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 01 พ.ค. 2567สพม.สระแก้ว ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระแก้ว 01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

บทคัดย่อ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย        นางชนิสรา อริยะเดชช์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน จาก 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ ชุดการเรียนรู้เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 เล่ม เล่มที่ 1 จำนวน 4 ชุด เล่มที่ 2 จำนวน 4 ชุด และเล่มที่ 3 จำนวน 6 ชุด รวมทั้งสิ้น 14 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 แผน ทำการสอนแผนละ 1 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.37-0.76 ค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.44 ถึง 0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวก การลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ การทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)

    ผลการวิจัย พบว่า
1.    ชุดการเรียนรู้ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.51/78.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (75/75)

2.    ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ
เทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5787 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็น ร้อยละ 57.87
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
     4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมและการบวกการลบทศนิยม สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ) เท่ากับ 4.67 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.33
Napat610 19 มี.ค. 2563 เวลา 23:17 น. 0 418
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^