LASTEST NEWS

03 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 พ.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 11 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพม.ขอนแก่น ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 29 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่ 2 – 9 พฤษภาคม 2567 02 พ.ค. 2567สพฐ. ห่วงใยแนะแนวทางการป้องกัน ดูแล ครูและนักเรียน ในสภาพอากาศร้อนจัด

การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง
กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ผู้วิจัย        นางสาวรัตนสุดา แก้วกันยา    ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย        2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถเขียนเค้าโครงการวิจัยและทำวิจัยในชั้นเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบทดสอบมี 1 ฉบับใช้ก่อน - หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ มี 2 ฉบับประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสัมภาษณ์การนิเทศ แบบสังเกตมี 2 ฉบับ 1) แบบสังเกตการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสังเกต การนิเทศ แบบประเมินเค้าโครงวิจัย มี 1 ฉบับ แบบประเมินรายงานการวิจัย มี 1 ฉบับ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมวิจัยและชุดพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วยสาระสำคัญเกี่ยวกับการวิจัย ในชั้นเรียน มีทั้งหมด 9 หน่วยการเรียนรู้
    ผลการวิจัย พบว่า
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลลำน้ำพอง กองการศึกษา เทศบาลตำบลลำน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีผลสรุปการวิจัยดังนี้
1. ผลการพัฒนาในวงจรที่ 1
การดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 1 มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาบุคลากรครูให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้กรอบการพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดหัวข้อการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการเขียนรายงานการวิจัย ในชั้นเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำวิจัยในชั้นเรียน และการนิเทศภายใน มีการสะท้อนผล ดังนี้


    1. การดำเนินการการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
    1.1 การกำหนดหัวข้อการวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษา เอกสารการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่จะกำหนดหัวข้อการวิจัยได้ แต่หลังจากได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัยใน ชั้นเรียน การประชุมปฏิบัติการและได้ฝึกตามกิจกรรม และนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการกำหนดหัวข้อการวิจัยชัดเจนขึ้นมีความมั่นใจ ในการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป
    1.2 การเขียนเค้าโครงการวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่สามารถที่จะเขียน เค้าโครงการวิจัยได้ แต่หลังจากที่ได้ผ่านการศึกษาเอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการตามกิจกรรมและการนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยชัดเจนขึ้น และในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน ผู้ร่วมวิจัยยังมีความต้องการที่จะพัฒนา ในวงจรที่ 2 ต่อไป
1.3 การดำเนินการทำวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัยทั้ง 9 เล่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่สามารถที่จะเนินการทำวิจัยได้ แต่หลังจากที่ได้ผ่านการศึกษาเอกสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการตามกิจกรรม และการนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถ ดำเนินการทำวิจัยชัดเจนขึ้นในส่วนที่ยังไม่ชัดเจน และผู้วิจัยยังต้องการที่จะพัฒนาในวงจรที่ 2 ต่อไป
1.4 การเขียนรายงานการวิจัย กลุ่มผู้ร่วมวิจัยในช่วงแรกที่ยังไม่ได้ผ่านการศึกษา
เอกสารการวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ไม่สามารถเขียนรายงานการวิจัยได้ แต่หลังจากได้ผ่านการศึกษาเอกสารการวิจัยในชั้นเรียน การประชุมเชิงปฏิบัติการตามกิจกรรม และการนิเทศติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือแล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยชัดเจนขึ้น ในส่วนที่ยังไม่ชัดเจนผู้ร่วมวิจัยยังต้องการที่จะพัฒนาในวงจรที่ 2 ต่อไป
    2. การทดสอบก่อนการประชุมและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียนการทดสอบผู้เข้ารับการประชุมก่อนการประชุมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 17.12 และ 13.00 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าร้อยละ 4.12 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังประชุม สูงกว่าก่อนประชุม คือ 0.75 และ 1.35 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียน มีผลต่อการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียนก้าวหน้ามากขึ้น และเมื่อทราบผลทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความมั่นใจตนเองในการทำวิจัยมากขึ้น
2. ผลการพัฒนาในวงจรที่ 2
การดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 2 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามกรอบการพัฒนา 3 ด้าน คือ การเขียน เค้าโครงการวิจัย การดำเนินการวิจัย และการเขียนรายงานการวิจัย โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศภายในจำนวน 2 กิจกรรม คือ การนิเทศภายในโดยกิจกรรมการประชุมกลุ่ม และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยง มีการสะท้อนผล ดังนี้
1. การเขียนเค้าโครงการวิจัย หลังจากที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ผ่านการนิเทศภายในโดยกิจกรรมการประชุมกลุ่มตามแผน และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยง เพื่อติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นกลุ่ม และรายบุคคล ในวงจรที่ 2 แล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยชัดเจนขึ้น
2. การดำเนินการวิจัย หลังจากที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ผ่านการนิเทศภายในโดยกิจกรรม การประชุมกลุ่มตามแผน และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยงเพื่อติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นกลุ่ม และรายบุคคล ในวงจรที่ 2 แล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการดำเนินการวิจัย ชัดเจนในส่วนที่ยังไม่ชัดเจนในวงจรที่ 1 ขึ้นกว่าเดิม
3. การเขียนรายงานวิจัย หลังจากที่กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ผ่านการนิเทศภายในโดยกิจกรรมการประชุมกลุ่มตามแผน และการนิเทศภายในโดยกิจกรรมพี่เลี้ยงเพื่อติดตามให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นรายบุคคลในวงจรที่ 2 แล้ว ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ มั่นใจว่าจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใดคือ การเขียนรายงานส่วนเนื้อหา ด้านการสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
จากผลการสะท้อนการดำเนินการเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
โดยได้ดำเนินการครบ 2 วงจร มีข้อค้นพบโดยรวม พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ และความสามารถเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เนื่องจากการศึกษาเอกสารการวิจัย การประชุมเชิงปฏิบัติการการทำวิจัยในชั้นเรียนและการนิเทศภายใน สามารถช่วยเหลือผู้ร่วมวิจัยให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้ตามกรอบการศึกษาค้นคว้าทุกด้าน แต่อย่างไรก็ตามควรมีการส่งเสริมและพัฒนาให้บุคลากรได้มีการทำวิจัย ในชั้นเรียนอยู่เสมอ โดยโรงเรียนให้การสนับสนุนบุคลากรได้มีโอกาสในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^