LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3
ผู้วิจัย        นางสายสุนีย์ สุระกุล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดประสิทธิชัย) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง
        กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์    2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดประสิทธิชัย) สำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 2) แผนการจัดประสบการณ์รูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 จำนวน 40 แผน ใช้จัดประสบการณ์แผนละ 30 นาที 3) หนังสือนิทานคำคล้องจอง จำนวน 10 เรื่อง 4) แบบ
ทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเล่านิทานคำคล้องจอง จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 6 ข้อ รวม 30 ข้อ และ 5) แบบวัดความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 จำนวน 1 ชุด มี 10 รายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการให้ความรู้และสร้างความตระหนัก (Knowledge and Awareness: KA) ครูทบทวนประสบการณ์เดิมเชื่อมโยงกับสถานการณ์หรือเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ใหม่ 2) ขั้นการสร้างเสริมความรู้ (Enhancement: E) นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่ม สร้างองค์ความรู้ใหม่ 3) ขั้นการสร้างผลงาน (Construction: C) ใช้ทักษะกระบวนการกลุ่มหรือกระบวนการทางปัญญาสร้างผลงาน 4) ขั้นการนำเสนอผลงานและการประยุกต์ใช้ (Presentation and Application: PA) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกันนำเสนอผลงาน และประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ 5) ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้และการสะท้อนกลับ (Assessment and Reflection: AR) ผู้เรียนประเมินผลงานและสะท้อนความคิดเห็น เกี่ยวกับผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น และรูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.88/84.03 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
     2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ชั้นปฐมวัยปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. ความพึงพอใจของของเด็กปฐมวัย ชั้นปฐมวัยปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบเน้นประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานคำคล้องจอง เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับชั้นปฐมวัยปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก (x-bar= 2.93, S.D.= 0.20)

L.kandanai 05 มี.ค. 2563 เวลา 23:13 น. 0 586
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^