LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7

รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม

usericon

ชื่อเรื่องงานวิจัย    รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย     นางธนัฏฐา วุฒิวณิชย์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย
ปีที่วิจัย     ปีการศึกษา 2560 - 2561
บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยที่ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAOR) มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษา และสังเคราะห์ องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่เป็นผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรจากโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 11 โรงเรียน และกลุ่มเป้าหมาย ในการสัมภาษณ์ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศด้านการบริหารวิชาการ (Best Practice) จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 3 การสร้าง และตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม (P : Planning) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ คือ บุคลากรจากสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 22 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบรูปแบบ และคู่มือการใช้ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบบมีส่วนร่วม ประชากรที่เป็นผู้นำรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบไปใช้ (A : Action) สังเกต ติดตามประเมินผลการและประเมินผลความพึงพอใจ (O : Observation) และสะท้อนผลการใช้ (R : Reflection) ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกการศึกษา และสังเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถาม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ วาระการประชุม และแบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ แบบตรวจสอบรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ บันทึกการประชุมชี้แจง แบบสังเกต ติดตาม แบบประเมินผล และแบบประเมินความพึงพอใจ แบบบันทึกการประชุมนำเสนอผลการใช้ และการสะท้อนความคิด สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการพรรณนาวิเคราะห์
     ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการแบบ มีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 4) การวางแผนและพัฒนาการส่งเสริมทางวิชาการ 5) การนิเทศภายใน 6) การวัด และประเมินผล
     สภาพ ปัญหา การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.24, S.D. = 0.82) ขณะที่ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม พบว่า ในภาพรวม 3 ด้าน โดยรวมเป็นปัจจัยที่เอื้อในระดับมาก(Mean = 4.09, S.D. = 0.73) ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีการปฏิบัติ เป็นเลิศ (Best Practice) พบว่า โรงเรียนให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา    
     ส่วนรูปแบบ และคู่มือการใช้ ประกอบไปด้วย 1) คำชี้แจงการใช้รูปแบบ 2) ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ตอนที่ 3 รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1.1) หลักการ 1.2) วัตถุประสงค์ 1.3) ระบบและกลไก 1.4) วิธีดำเนินการ 1.5) แนวทาง การประเมิน 1.6) เงื่อนไข และภาคผนวก โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) 2)กระบวนการ (Process) 3) ผลผลิต (Outputs) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator) มีผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นตัวตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีผลการตรวจสอบ ของรูปแบบ และคู่มือการใช้ ของผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการศึกษาการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ปรากฏดังนี้
         1. การนำรูปแบบ และคู่มือการใช้ ไปใช้ (A : Action) พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ ในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม ไปใช้ จากการประชุม ชี้แจง วัตถุประสงค์ ในการสร้างความเข้าใจต่อโดยสามารถปฏิบัติตามตามขั้นตอนคู่มือการใช้ โรงเรียนมีเป้าหมาย ในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่ชัดเจน มีการนำการศึกษาสภาพ ปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหา และการวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อมาใช้ประกอบการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้น โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับผิดชอบการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมไปใช้
         2. การสังเกต ติดตาม ประเมินผลการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้ (O : Observation) พบว่า การบริหารงานวิชาการถือเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษา โดยมีจุดเน้นในด้านต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการ อย่างเข้มแข็ง ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3) ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา 4) ด้านการนิเทศการเรียนการสอน ที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน ส่วน การประเมินผลการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้ พบว่า โดยรวม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.36, S.D. = 0.67) ในด้านประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้ พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.42, S.D.= 0.59)     
         3. การสะท้อนผลการปฏิบัติในการนำการใช้รูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมไปใช้ (R : Reflection) พบว่ามีปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านศักยภาพของผู้บริหาร 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4) ด้านการวัดและประเมินผล 5) ด้านการนิเทศการเรียนการสอน 6) ด้านศักยภาพของปัจจัยพื้นฐาน
teacherpui007 04 มี.ค. 2563 เวลา 09:47 น. 0 724
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^