LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

การพัฒนาความคงทนในการจดจำคำศัพท์โดยใช้เกม

usericon



Best Practice
การพัฒนาความคงทนในการจดจำคำศัพท์โดยใช้เกม
ที่สร้างขึ้นโดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ชื่อผู้นำเสนอผลงาน นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข
ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1

1. ความเป็นมา

การเรียนภาษาไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาใดก็ตามผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตัวภาษาทั้งในด้านเสียง คำศัพท์ และโครงสร้างภาษา เนื่องจากทุกภาษาจะมีองค์ประกอบที่สำคัญเหมือนกัน คือ เสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์ การเรียนภาษาที่จะช่วยให้เข้าใจภาษาได้ดียิ่งขึ้น คือ ความเข้าใจโครงสร้างของภาษาและการรู้ความหมายของคำศัพท์ ถึงแม้ว่าคำศัพท์จะเป็นเพียงแค่องค์ประกอบย่อย แต่ก็เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของภาษา ฉะนั้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษนั้นความรู้เรื่องศัพท์มีความสำคัญในการฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆในภาษานั้นมีความสำคัญมากในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ การที่นักเรียนสามารถจดจำคำศัพท์ได้มากเท่าใดย่อมได้เปรียบมากเท่านั้น คำศัพท์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนภาษาเพราะการรู้คำศัพท์มากเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความก้าวหน้าในการเรียนภาษาและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ย่อมช่วยให้การเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น อีกทั้งคำศัพท์ยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การอ่าน และการเขียนให้ดีอีกด้วย จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (o-net) ปี 2555 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย พบว่า ผลคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 4 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน ต 1.1 , มาตรฐาน ต.1.2 , มาตรฐาน ต.1.3 และมาตรฐาน ต. 2.2 ทั้งนี้อาจเกิดจากใช้กิจกรรม ไม่เหมาะสม กิจกรรมไม่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ กิจกรรมไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงทำให้นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน นักเรียนจดจำความหมายของคำศัพท์ไม่ได้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนภาษาอังกฤษ
ครูผู้สอนจึงคิดเทคนิควิธีในการเพิ่มความสามารถในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียน การนำเกมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนช่วยสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น การใช้เกมเป็นกิจกรรมที่พัฒนาทางด้านร่างกาย ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เสริมสร้างให้มีการตื่นตัว และมีบรรยากาศที่แตกต่างไปจากการเรียนภาษาตามปกติ เป็นการสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานจะช่วยให้นักเรียนสนใจการเรียนภาษาอังกฤษ วิธีการสอนโดยใช้เกมเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างสนุกสนานและ ท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรงเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมสูง เกมจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องสนุกและมีคุณค่า การเล่นเกมในชั้นเรียนเป็นการพัฒนาความสามารถของเด็กในการทำงานร่วมกัน การเล่นเกมจึงเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติของเด็ก







2. วัตถุประสงค์
1.    เพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำคำศัพท์ให้แก่นักเรียน
2.    เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
3.    เพื่อให้นักเรียนเข้าใจวิธีการสร้างเกมจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint ได้
4.    เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์

3. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne’ )
• การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
• การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
• การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและ
ระยะยาว
• ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
• ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
• การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
• การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
• การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็ว
จะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง

4. การดำเนินงาน
ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน
ขั้นวางแผนเป็นขั้นของการร่วมกันคิด ในการเลือกวิธีที่จะพัฒนาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียน

ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมการและออกแบบ
หลังจากตัดสินใจเลือกวิธีการสร้างเกมโดยใช้โปรแกรม Microsoft Powerpoint ในการแก้ปัญหาความคงทนในการจดจำคำศัพท์ ในขั้นนี้นักเรียนจะต้องเลือกหัวข้อ/หมวดหมู่ของคำศัพท์ที่จะนำมาใช้สร้างเกมรวบรวมคำศัพท์และดำเนินการสร้างเกมโดยใช้โปรแกรม
Microsoft Powerpoint

ขั้นที่ 3 ขั้นการจัดทำ
เมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นลงมือจัดทำ ครูสาธิตวิธีการสร้างเกมให้นักเรียนลองฝึกปฏิบัติ

ขั้นที่ 4 ขั้นการนำเสนอ
การนำเสนอผ่าน กระดานอัจฉริยะ โดยการสุ่มเพื่อนนักเรียนออกมาเล่นเกม


ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล
นักเรียนทดสอบเขียนตามคำบอกเพื่อวัดความคงทนในการจดจำคำศัพท์ พร้อมทั้งทำแบบสอบถามเพื่อวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

ขั้นที่ 6 ขั้นการสรุปผล
ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการประเมิน ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าการสร้างเกมจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint ที่นักเรียนร่วมกันทำขึ้นนั้น บรรลุตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มีข้อดีและข้อควรปรับปรุงอะไรบ้าง

กลุ่มเป้าหมาย
     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 คน

5. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
     17 มิถุนายน 2556 - 19 กรกฎาคม 2556

6. ผลการปฏิบัติงาน
    1. นักเรียนสามารถสร้างเกมจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint ได้
    2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำศัพท์มากยิ่งขึ้น
    3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ
    4. นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์

7. ปัจจัยที่ทำให้วิธีการประสบผลสำเร็จ
    เกมเป็นนวัตกรรมที่ดึงดูดความสนใจให้นักเรียนกระตือรือร้นในการเรียนรู้

8. บทเรียนที่ได้รับ
    นักเรียนควรสร้างเกมโดยตั้งคำถามในลักษณะคิดวิเคราะห์เพื่อฝึกให้นักเรียนที่สร้างเกมและผู้เล่นเกมได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์










ภาพประกอบ






the_wink001 03 มี.ค. 2563 เวลา 14:47 น. 0 436
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^