LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices : BP)

usericon

ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices : BP)
ด้านสื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑
****************************************************
ผู้นำเสนอผลงาน นางสาวกุลิสรา เบ้าสุข ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตำแหน่ง ครู คศ. ๒ โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย กลุ่มโรงเรียนพัฒนพงศ์ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑
โทรศัพท์ ๐๘๙ – ๘๐๗๓๕๖๑ e-mail juiiiicy@gmail.com
ชื่อผลงาน karaoke book สร้างสุข เรียนรวม

๑. ความเป็นมา
จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษากล่าวถึงการพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง การพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามความมุ่งหวังต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรในโรงเรียน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 16) และแนวการจัดการศึกษายังให้ความสำคัญกับผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักการผู้เรียนทุกคน เป็นผู้มีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (มาตรา 22) ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารในการดำรงชีวิตประจำวันที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทย ภาษาเกิดจากการเรียนรู้และเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ภาษาเป็นวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือถ่ายทอดทางวัฒนธรรม และภาษาเป็นเครื่องมือแสดงถึงความเจริญของชาติ (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์, 2549 : 1-3) การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ทักษะการอ่านเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชาติ ประเทศที่จะพัฒนาได้ต้องอาศัยประชาชนในชาติที่มีความสามารถในการอ่าน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2550 : 6) การอ่านเป็นวัฒนธรรมในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ ปัจจุบันสังคมโลกเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการแข่งขัน การอ่านจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้มนุษย์ได้รับความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดใหม่ๆ อันจะเป็นการพัฒนาตนเองและรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ใช้การอ่านเป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ซึ่งจะเป็นการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2549 : 1) การส่งเสริมการอ่านเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาความรู้จากการอ่าน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างเด็กและเยาวชนไทย ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2549 :1) การเรียนรู้ภาษาไทยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะสามารถต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
    ปัญหาสำคัญที่พบมากในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึง ความผิดปกติของกระบวนการทางจิตวิทยา (Psychological Process) อย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษา การพูด หรือการเขียน ทำให้บุคคลที่มีความผิดปกติดังกล่าวด้อยความสามารถในการฟัง การคิด การอ่าน การเขียน หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ นักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning disabilities, LD) หมายถึง นักเรียนที่มีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างของขบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา การพูดหรือการเขียน ซึ่งความผิดปกตินี้อาจส่งผลให้เกิดความบกพร่องในเรื่องที่เกี่ยวกับความเข้าใจ การฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำ ตลอดจนการคิดคำนวณ แต่ไม่รวมถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อันเนื่องมาจากการมีความพิการด้านสายตา


การได้ยิน ร่างกายพิการ ภาวะปัญญาอ่อน มีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือเป็นเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ก่อให้เกิดปัญหาการเรียนเนื่องมาจากเด็กไม่สามารถเรียนได้ดีเท่ากับเด็กปกติทั่วไป ความบกพร่องที่พบมากที่สุดคือความบกพร่องทางการอ่าน เด็กที่มีปัญหาในการอ่านอาจมีพฤติกรรมดังนี้ 1) จำอักษรไม่ได้ ทำให้อ่านเป็นคำไม่ได้ 2) จำอักษรได้บ้าง แต่อ่านเป็นคำไม่ได้ 3) ระดับความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเรียนเดียวกัน 4) ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญาที่เชื่อถือได้ 5) เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา 6) อ่านคำโดยสลับตัวอักษร 7) ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน มาหลังตัวอักษรใดอยู่ซ้ายหรือขวา 8) ไม่สามารถแยกเสียงสระในคำได้ นักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ทางด้านการอ่าน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและส่งผลให้มีปัญหาทางพฤติกรรม จากประสบการณ์ในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พบว่ากิจกรรมใดที่นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมหรือไม่พอใจที่จะทำ นักเรียนจะเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความตั้งใจ เนื่องจากภาษาเป็นพื้นฐานที่ช่วยให้คนเราสามารถติดต่อ สื่อสารแก้ปัญหา ผสมผสาน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ได้ หากมีความบกพร่องทางภาษาจะทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อความสามารถของบุคคลต่อการเรียนรู้ การดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและความเชื่อมั่นในตนเอง นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน จะมีลักษณะการอ่าน ดังนี้ คือ อ่านไม่ออก อ่านช้า อ่านตะกุกตะกัก อ่านคำไม่ถูกต้อง อ่านข้ามคำ อ่านเพิ่มคำ อ่านคำอื่นแทน หรืออ่านกลับหลัง ไม่เข้าใจสิ่งที่อ่าน ทำให้ขาดความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องที่อ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ประสบกับปัญหาความยุ่งยากในการเรียน หรืออาจเรียนช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน เนื่องจากขาดความสามารถในการอ่าน ด้วยเหตุนี้การอ่านจึงเป็นปัญหาสำคัญที่สุดของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้     ภาวะบกพร่องด้านการอ่านจะส่งผลต่อความสามารถในการตีความ การเข้าใจความหมายของคำ หรือภาษา การออกเสียงคำศัพท์ ซึ่งความบกพร่องนี้เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางระบบประสาทการรับรู้ต่างๆ เช่น การรับรู้ทางสายตา การรับรู้ทางการได้ยิน ระบบความจำ และทักษะการใช้ภาษา
    จากการสังเกตพฤติกรรมด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในการดำเนินการกิจกรรมบัดดี้คู่ซี้ จิตดี อ่านดี ที่เคยปฏิบัติมาในปีการศึกษาที่ผ่านมา ปรากฏว่า ในช่วงแรกๆ ผลการดำเนินการเป็นไปด้วยดี แต่ในช่วงปลายเพื่อนที่มีจิตอาสามีความกระตือรือร้นน้อยลงในการสอนเพื่อนอ่านหนังสือ เนื่องจากมีความต้องการในการทำกิจกรรมอื่น นอกเหนือจากการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อ่านหนังสือ ผู้จัดทำจึงศึกษาหานวัตกรรมที่สามารถช่วยนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านการอ่านในระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้จัดทำได้ดำเนินการพัฒนาหนังสือคาราโอเกะ ซึ่งหนังสือคาราโอกะเป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษที่อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถฝึกอ่านได้ด้วยตนเองตลอดเวลาตามต้องการ โดยเนื้อหาในหนังสือคาราโอเกะ แบ่งออกเป็น ๗ หมวด ได้แก่ หมวดกิจกรรม หมวดของใช้ หมวดจำนวน หมวดอาชีพ หมวดสัตว์ หมวดผลไม้ และหมวดผัก หนังสือคาราโอเกะจึงนับเป็น สื่อ นวัตกรรม การจัดการเรียนการสอนที่มีประโยชน์เหมาะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงนับเป็นวิธีปฏิบัติ ที่เป็นเลิศ ในหัวข้อ karaoke book สร้างสุข เรียนรวม ที่นอกจากจะได้รับประโยชน์ในด้านการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้แล้ว ยังสร้างความภาคภูมิใจแก่เพื่อนนักเรียนที่มีจิตอาสาบันทึกคลิปเสียงเพื่อสอนเพื่อนอ่านได้อีกด้วย









๒. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
๒.๑ ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
๑) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาค้นคว้า
ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านม่วงฝ้าย จำนวน ๒ คน
๒) ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า     
ระยะเวลาที่ดำเนินการ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
- ๓) เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เนื้อหาในหนังสือคาราโอเกะ แบ่งออกเป็น ๗ หมวด ได้แก่ หมวดกิจกรรม หมวดของใช้ หมวดจำนวน หมวดอาชีพ หมวดสัตว์ หมวดผลไม้ และหมวดผัก

๒.๒ วัตถุประสงค์
๑) พัฒนาหนังสือคาราโอเกะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
๒) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อหนังสือคาราโอเกะ
๓) เพื่อปลูกฝังความมีน้ำใจ จิตอาสาในการเรียนรวมกันระหว่างนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

๒.๓ วิธีดำเนินการ
ในการศึกษาการพัฒนาหนังสือคาราโอเกะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้ดำเนินการดังนี้
๑) ศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหา
๒) ศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
๓) ศึกษาการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3.1 หนังสือคาราโอเกะ
- ศึกษาเอกสารวิธีการสร้างหนังสือคาราโอเกะโดยใช้โปรแกรม Sony Vegas Pro
3.๒ แบบประเมินความพึงพอใจหลังการใช้หนังสือคาราโอเกะ
๔) รวมรวบข้อมูลคำศัพท์พร้อมภาพประกอบในแต่ละหมวด
๕) ขั้นดำเนินการ
๕.๑ รับสมัครเพื่อนที่มีจิตอาสา บันทึกคลิปเสียงในหนังสือคาราโอเกะ
๕.๒ คัดเลือกเพื่อนที่มีจิตอาสาจากการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง
๕.๓ ให้นักเรียนหมวดหมู่ของคำที่จะบันทึกคลิปเสียงตามความสนใจของแต่ละคน
๕.๔ เมื่อได้คลิปเสียงที่ต้องการทั้งหมดแล้ว ผู้จัดทำดำเนินการตัดต่อคลิปเสียงใส่ในหนังสือโดยใช้โปรแกรม Sony Vegas Pro
๕.๕ ทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือคาราโอเกะกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
๕.๖ สังเกตพฤติกรรมขณะเรียนรู้จากหนังสือคาราโอเกะ
๕.๗ ประเมินความพึงพอใจหลังการใช้หนังสือคาราโอเกะ แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
๖) วิเคราะห์ข้อมูล – สรุปผล
นำผลการประเมินความพึงพอใจหลังการใช้หนังสือคาราโอเกะมาวิเคราะห์ข้อมูล





๓. สรุปผลการดำเนินงาน
การพัฒนาหนังสือคาราโอเกะในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาหนังสือคาราโอเกะสำหรับนักเรียน ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ๒) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อหนังสือ คาราโอเกะ ๓) เพื่อปลูกฝังความมีน้ำใจ จิตอาสาในการเรียนรวมกันระหว่างนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีหนังสือคาราโอเกะ ไว้สำหรับฝึกอ่าน หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือคาราโอเกะ กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผลปรากฏว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีพัฒนาการด้านการอ่านที่สูงขึ้น และเมื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่มีต่อการใช้หนังสือคาราโอเกะ พบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อหนังสือคาราโอเกะ เนื่องจากหนังสือคาราโอเกะมีรูปภาพ สีสัน ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ และนอกจากประโยชน์ด้านการการแล้ว การพัฒนาหนังสือคาราโอเกะโดยการสรรหานักเรียนที่มีจิตอาสา มาบันทึกคลิปเสียงประกอบในการจัดทำหนังสือคาราโอเกะ นอกจากจะเป็นการปลูกฝังความมีน้ำใจ จิตอาสาในการเรียนรวมกันระหว่างนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้แล้ว ยังส่งผลให้นักเรียนปกติมีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน สื่อ นวัตกรรมดีๆ ไว้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้มีไว้ศึกษา

๔. การเผยแพร่
    ๔.๑ จัดแสดงสื่อ นวัตกรรมในการจัดประชุม อบรม สัมมนา
    ๔.2 แจกเอกสาร/หนังสือ
    ๔.3 ให้คำปรึกษาแก่เพื่อนครูและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรวม

ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานครั้งต่อไป
ควรจัดทำหนังสือคาราโอเกะในเนื้อหาสาระอื่น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทาง การเรียนรู้ในการศึกษา


the_wink001 03 มี.ค. 2563 เวลา 11:29 น. 0 544
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^