LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

เผยแพร่ผลงาน การพัฒนาสื่อการสอน รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์

usericon

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อการพัฒนารายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ขั้นตอนวิธีและการพัฒนาโปรแกรม ระหว่างก่อนเรียน (Pretest) และหลังเรียน (Posttest)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 5

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอน e-Learning ผ่านสื่อออนไลน์ Google for education รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ขั้นตอนวิธีและการพัฒนาโปรแกรม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x-) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test แบบ Dependent Samples) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะด้านการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษและคำสั่งต่างๆ ก่อนเรียนรู้และหลังการเรียนรู้

ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของสื่อการสอน e-Learning ผ่านสื่อออนไลน์ Google for education รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า คะแนนประเมินของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ย 0.79 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24 ความเหมาะสมในภาพรวม และรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับที่สามารถนำไปใช้ได้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบเรื่อง ขั้นตอนวิธีและการพัฒนาโปรแกรม ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x-) เท่ากับ 12.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.21 และคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (x-) เท่ากับ 12.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.17 ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีการพัฒนาความรู้เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน มากขึ้นซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ ผลการเปรียบเทียบสถิติการทดสอบคะแนนที (t-test) ได้ค่าt จากการคำนวณเท่ากับ 2.73 ซึ่งสูงกว่าค่า t (.05,39) เท่ากับ 3.12 จากตารางแสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีการพัฒนาความรู้ รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ สูงขึ้นก่อนเรียนหลังจากเรียนรู้ด้วยสื่อการสอน e-Learning
jane220423 02 มี.ค. 2563 เวลา 12:07 น. 0 547
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^