LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

กลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบ

usericon

เรื่อง     กลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล
    วัดไทรเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์
ผู้รายงาน        นายอนุวัฒน์ พรเหลืองชมภู
ตำแหน่ง         รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ชำนาญการพิเศษ
        รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา    โรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ
ปีการศึกษา    2560

บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล วัดไทรเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ 3) เพื่อนำผลการพัฒนากลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและครู จำนวน 23 คน กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ และปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1.     สภาพปัญหาการนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ กับผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และปราชญ์ชาวบ้าน อยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.45) พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การให้ความร่วมมือของครูในการนำปราชญ์ชาวบ้านในการจัดทำสื่ออุปกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.70) รองลงมา การทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการจัดการความรู้โดยใช้ปราชญ์ชาวบ้าน และ การกำหนดการสอนให้สัมพันธ์กับการนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅= 4.60) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ งบประมาณในการเรียนการสอนปราชญ์ชาวบ้านในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.17)
2. การพัฒนากลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ กับผู้บริหาร คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และปราชญ์ชาวบ้าน 4 เรื่อง ด้านทำขนมอบและขนมไทย ด้านแสดงโขน ด้านดนตรีลูกทุ่ง และด้านการเกษตร กำหนดแนวทางการพัฒนา มี 4 องค์ประกอบคือ 1) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ด้านสื่อการเรียนรู้ 4) ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ แล้วประเมินคุณภาพของกลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล วัดไทรเหนือ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีคุณภาพสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมาด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
3. นำผลการพัฒนากลยุทธ์การนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทรเหนือ กับครู ในภาพรวมพบว่า ผลการพัฒนาค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน (X ̅= 4.54) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมากทุกด้าน (X ̅= 4.54) พบว่า จุดประสงค์กิจกรรมและกระบวนการเหมาะสมกับการเรียนรู้ของนักเรียนในแต่ละชั้น นักเรียนสามารถปฏิบัติได้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาสอน และมีสมาธิในการปฏิบัติตามการจัดการเรียนรู้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านได้ดี มีความรับผิดชอบและได้ประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และมีความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญา
ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (X ̅= 4.62) พบว่า นักเรียนสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปต่อยอดเป็นธุรกิจภายในครอบครัวได้ ผลงานของนักเรียนสามารถเก็บไว้สำหรับรุ่นต่อไป ผลงานของนักเรียนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ และสร้างรายได้ให้นักเรียนและครอบครัวได้ นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ให้สามารถประกอบอาชีพได้ นักเรียนและสมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
ด้านสื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยในระดับดี (X ̅= 4.48) พบว่า สื่อจากการนำปราชญ์ชาวบ้านมาใช้หาได้ง่ายและสอดคล้องกับการเรียน นักเรียนได้เรียนรู้ระบบข้อมูลข่าวสารและการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ได้อย่างมีคุณภาพ และสื่อจากปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ทำให้นักเรียนเข้าใจและรู้ถึงคุณค่าของปราชญ์ชาวบ้าน และรู้จักการบันทึกขั้นตอนการปฏิบัติและรายงานผลการปฏิบัติ รู้จักการทำบัญชีจากผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้านได้ดี
ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยในระดับดี (X ̅= 4.44) พบว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนสามารถปฏิบัติได้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาสอน และมีความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการวัดผลตามหลักสูตร นักเรียนเกิดทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้องค์ความรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและนำความรู้ไปใช้ได้จริง
witshaman25 02 มี.ค. 2563 เวลา 11:00 น. 0 473
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^