LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.ปทุมธานี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปทุมธานี 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม 26 เม.ย. 2567สพป.นราธิวาส เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 2 26 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3

PLC เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

usericon

ชื่อเรื่อง        การสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
        ของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
ผู้วิจัย        สุดา นันไชยวงค์
ปีที่ทำวิจัย    2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ศึกษาจากประชากรทั้งหมดคือ ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis: EFA) 2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยการประชุมกลุ่ม (Focus Group) จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 9 คน โดยใช้แบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือแบบตรวจสอบรายการ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ และค่าร้อยละ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 121 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 2,393 คน ในปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกคะแนน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย และ
4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด คือ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 36 จำนวน 28 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 168 คน นักเรียน จำนวน 168 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 สามารถกำหนดเป็น 9 องค์ประกอบและตั้งชื่อองค์ประกอบได้ดังนี้ 1) ความเป็นผู้นำ (Leadership) 2) ค่านิยมร่วมและวิสัยทัศน์ร่วม (shared values and vision) 3) ทีมร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative Teamwork) 4) ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership) 5) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ (Professional learning and development) 6) ชุมชนกัลยาณมิตร (Caring community) 7) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive structure) 8) การสะท้อนคิดและติดตามผล (Reflective and Monitoring) และ 9) สร้างเครือข่ายและขยายผลสำเร็จ (Networking and Successful extension)
2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นผู้นำ (Leadership) 2) ค่านิยมร่วมและวิสัยทัศน์ร่วม (shared values and vision) 3) ทีมร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative Teamwork) 4) ภาวะผู้นำร่วม (Shared Leadership) 5) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ (Professional learning and development) 6) ชุมชนกัลยาณมิตร (Caring community) 7) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน (Supportive structure) 8) การสะท้อนคิดและติดตามผล (Reflective and Monitoring) และ 9) สร้างเครือข่ายและขยายผลสำเร็จ (Networking and Successful extension) พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความคิดเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีความเหมาะสม
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น
ทุกระดับชั้น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.65 ระดับคุณภาพจากดีเป็นดีมาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 ระดับคุณภาพจากดีเป็นดีมาก นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของ
ผลการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) เพิ่มขึ้น นักเรียนระดับชั้นมัยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของผลการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ได้เพิ่มขึ้น และนักเรียนได้รับรางวัลในการแข่งขัน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนเทิงวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^