LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม
        โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ผู้วิจัย นางรุ่งฤมล สวัสดิ์พันธ์ รองผู้อำนวยการศึกษาชำนาญการพิเศษ
     โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี และดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี แหล่งข้อมูลได้แก่ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานวิชาการ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่งานวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี โดยการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผู้บริหารและครูวิชาการ 24 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี แหล่งข้อมูลได้แก่ นักเรียน จำนวน 412 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 412 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน บุคลากร จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี PUKDEE MODEL และคู่มือประกอบการดำเนินการตามรูปแบบฯ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล 11 ฉบับ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 7 ฉบับ 2) แบบสอบถาม 2 ฉบับ 3) แบบบันทึก 1 ฉบับ และ 4) แบบสังเกต 1 ฉบับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อสอบแต่ละข้อกับจุดประสงค์หรือเนื้อหา (Item Objective Congruence Index หรือ IOC) อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ คือ มากกว่า 0.5 ขึ้นไป และได้ค่าอัลฟาทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.709 – 0.965 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4) การประเมินทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ประเมินความพึงพอใจ ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 412 คน และนักเรียน จำนวน 412 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการ สำนักการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครู และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน มี 6 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P ขั้นการวางแผน ขั้นตอนที่ 2 Undertaking : U ขั้นการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 3 Knowledge : K ขั้นการพัฒนาโดยการให้ความรู้ ขั้นตอนที่ 4 Design And Development : D ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 Enhancement : E ขั้นการส่งเสริม เพิ่มประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 6 Evaluation : E ขั้นประเมินผล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ที่สร้างขึ้นที่มีชื่อเรียกว่า PUKDEE MODEL ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P ขั้นการวางแผน ขั้นตอนที่ 2 Undertaking : U ขั้นการดำเนินการ ขั้นตอนที่ 3 Knowledge : K ขั้นการพัฒนาโดยการให้ความรู้ ขั้นตอนที่ 4 Design And Development : D ขั้นการออกแบบและพัฒนากิจกรรม ขั้นตอนที่ 5 Enhancement : E ขั้นการส่งเสริม เพิ่มประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ 6 Evaluation : E ขั้นประเมินผล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายละเอียดปรากฏในคู่มือการดำเนินการ ซึ่งผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมโรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี อยู่ในระดับมาก โดยมีผลการดำเนินงานรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 2) ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ มีการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ของโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 3) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ผลปรากฏว่าครูทำการประเมินผลตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 4) ด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและท้องถิ่น สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก 5) ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โรงเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 6) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 7) ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการพัฒนาครูผู้สอนหลายรูปแบบ หลายวิธีการและต่อเนื่อง อยู่ในระดับมาก
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน พบว่ามีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการ โดยยึดหลักการเป็นทีม โดยใช้รูปแบบการบริหารวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี รวม 7 ด้าน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^