LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน รร.ท.1 โพศรี

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี
ชื่อผู้วิจัย    นางรุ่งฤมล สวัสดิ์พันธ์ รองผู้อำนวยการศึกษาชำนาญการพิเศษ
     โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่พิมพ์     2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี ก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูโรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 4 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่เข้ารับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 52 คน นักเรียนสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากจากนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 632 คน ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 2 วงจรคือจัดประชุม เชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการนิเทศการสอนแบบคลินิก โดยวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู ก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยการทดสอบค่าที แบบไม่อิสระ (t- Dependent) วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูโดยการสังเกตการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู นำข้อมูลมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูนำข้อมูลที่ได้มา หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานนำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (t-Independent)


ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู พบว่า ครูที่เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมีผลสัมฤทธิ์ความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการศึกษาการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครู มีดังนี้
2.1 การสังเกตการปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานพบว่า ครูได้ปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในทุก ๆ ด้าน มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 94.30)
2.2 การประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของครูใน ด้านการวางแผน การสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล มีค่าเฉลี่ยรวมของการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( )
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 4 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( ) และเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจระหว่างนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 – 4 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศการสอนแบบคลินิก สามารถพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^