LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

รายงานผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง     :     รายงานผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย อายุ 3-4 ขวบ
ชื่อผู้ศึกษา     :     ไพจิตร เดชพันธ์
ปีการศึกษา     :     2562


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ด้านการเล่นร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือ การปฏิบัติตามข้อตกลง และการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ระหว่างการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ด้านการเล่นร่วมกับผู้อื่น การช่วยเหลือ การปฏิบัติตามข้อตกลง และการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และในภาพรวมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย อายุ 3-4 ขวบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพุขาม ตำบลพุขาม อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ดำเนินการศึกษา คือ ทำการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่สร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย จนครบ 10 สัปดาห์ บันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมตามแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย จำนวน 30 แผน จึงทำการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย หลังการจัดกิจกรรม โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชุดเดิมกับที่ใช้ครั้งแรก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( µ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1.     พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย ระหว่างการจัดกิจกรรม ทั้ง 4 ด้าน แต่ละช่วงสัปดาห์มีผลการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ ด้านการเล่นร่วมกับผู้อื่น จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.29 ด้านการช่วยเหลือ จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.26 ด้านการปฏิบัติตามข้อตกลง จากการประเมินสัปดาห์ ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.29 และด้านการเป็นผู้นำผู้ตาม จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.18 และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีผลการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.26
2. พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย มีคะแนนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม คือ ด้านการเล่นร่วมกับผู้อื่น ก่อนจัดกิจกรรมอยู่ในระดับปรับปรุงมีคะแนนเฉลี่ย 1.38 คิดเป็นร้อยละ 46.00 หลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย 3.00 คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านการช่วยเหลือก่อนจัดกิจกรรมอยู่ในระดับปรับปรุงมีคะแนนเฉลี่ย 1.43 คิดเป็นร้อยละ 47.67 หลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย 2.95 คิดเป็นร้อยละ 98.33 ด้านการปฏิบัติตามข้อตกลงก่อนจัดกิจกรรมอยู่ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ย 1.33 คิดเป็นร้อยละ 44.33 หลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย 2.95 คิดเป็นร้อยละ 98.33 และด้านการเป็นผู้นำ ผู้ตามก่อนจัดกิจกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง มีคะแนนเฉลี่ย 1.24 คิดเป็นร้อยละ 41.33 หลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย 2.86 คิดเป็นร้อยละ 95.33 และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ก่อนการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับพอใช้มีคะแนนเฉลี่ยรวม 1.35 คิดเป็นร้อยละ 44.83 หลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ยรวม 2.94 คิดเป็นร้อยละ 98.00 และคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยรวม 1.60 คิดเป็นร้อยละ 53.17

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^