LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรร

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความ เชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย            นายพัชรดนัย ห้าวหาญ
หน่วยงาน        โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดบำรุงธรรม)

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาเอกสารและบริบทความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดังนี้ 3.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3.3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนกลุ่มทดลองนำร่อง คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดบำรุงธรรม)เทศบาลเมืองสระบุรี จำนวน 32 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างสำหรับนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้หาประสิทธิภาพแบ่งเป็น นักเรียนกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดบำรุงธรรม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน นักเรียนกลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดบำรุงธรรม) จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1.1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 1.2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ซึ่งเป็นแผนรายชั่วโมง รวม 9 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนศิลปะและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.2)แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนศิลปะและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.3)แบบวิเคราะห์เอกสาร 2.4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.5) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์และ 2.6) แบบสอบถามวัดความเชื่อมั่นในตนเอง 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ E1/E2การตรวจสอบสมมุติฐานใช้ t-test (dependent samples)และ t-test (Idependent samples) นำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. จากการศึกษาสภาพและปัญหาความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองของครูผู้สอนและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า C7 step Model ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนได้แก่ ได้แก่ (1)ขั้นสนทนา (Converse): C1 (2) ขั้นรับรู้และเข้าใจ (Cognition ): C2 (3) ขั้นกำหนดแนวคิด (Concept) :C3 (4) ขั้นสร้างความเชื่อมั่น(Confidence): C4 (5)ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (Creative) : C5 (6)ขั้นวิจารณ์ประเมินผลงาน(Criticism) : C6 และ(7) ขั้นสรุปความรู้ (Conclusion) : C7 และ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1)หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน 4) ระบบสังคม 5) การตอบสนอง และ6) ระบบสนับสนุน คุณภาพความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.88)
    3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า
     3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพสิทธิภาพของกระบวนการโดยคำนวณจากการประเมินใบงานและแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนทุกคน มีค่าเท่ากับ 81.85 และ เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพผลลัพธ์จากคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกคนมีค่าเท่ากับ 80.92 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 81.85/80.92 และเมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพผลลัพธ์จากคะแนนแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนทุกคน มีค่าเท่ากับ 81.33 รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพ(E1/ E2) เท่ากับ 81.85/81.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
     3.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
     3.3 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองมีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^