LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

การพัฒนาการบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอก

usericon

การวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง “การพัฒนาการบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอก”
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนฤมล แก้วคำ    
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียน บ้านไร่วิทยา
บทคัดย่อ
    ในการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาการบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอก นักเรียนโรงเรียนบ้านไร่วิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 2 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 คน ได้แก่
1. ด.ญ. ประกาย         ศรีสวรรค์
โดยสังเกตพฤติกรรม การบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอก
    ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีการบรรเลงระนาดที่ดีขึ้น ต่างจากการสอนแบบวิธีปกติ โดยวิธีการให้นักเรียนมาฝึกซ้อมปฏิบัติแบบฝึกหัดระนาดเอกในเวลาพักกลางวัน โดยให้นักเรียนปฏิบัติระนาดเอกทีละแบบฝึกหัด ซ้ำไปซ้ำมาจนนักเรียนปฏิบัติระนาดเอกได้คล่อง โดยผ่านการฝึก ตามลำดับขั้นตอนจากแบบทดสอบที่ 1ไปจนถึง แบบทดสอบที่ 3 แล้วมาสอบกับคุณครู นักเรียนจึงเกิดทักษะในการบรรเลงระนาดเอกที่ดีขึ้น สามารถบรรเลงระนาดเอกได้ชัดเจน ถูกต้อง ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาทักษะการบรรเลงระนาดเอกได้อย่างคล่องแคล่ว

ความเป็นมา
    จากประสบการณ์ การสอนวิชาดนตรีไทยของผู้วิจัย พบว่ามีนักเรียน มีปัญหาเกี่ยวกับการบรรเลงระนาดเอกเบื้องต้นยังไม่ได้ ซึ่งผู้เรียนคิดว่าการบรรเลงระนาดเอกเป็นเรื่องที่ยาก ผู้วิจัยคิดว่า การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเริ่มให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยาก จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีกำลังใจ ในการพัฒนาทักษะและผลงานทางด้านดนตรีไทยได้ และนอกจากนี้ หากผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรีไทยโดยการปฏิบัติแบบซ้ำๆกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแม่นยำในการเรียนรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติการบรรเลงระนาดเอกได้

    การบรรเลงระนาดเอกเป็นการฝึกทักษะที่ยากมาก ผู้เรียนจะมีปัญหาในเรื่องดังนี้
        1. นักเรียนบรรเลงระนาดเอกตีมือทั้งสองข้างไม่พร้อมกัน
        2. นักเรียนไม่สามารถบรรเลงระนาดเอกได้ตรงคู่แปด
        3. นักเรียนไม่สามารถบรรเลงบรรเลงระนาดเอกตรงตามอัตราจังหวะ
        4. นักเรียนไม่สามารถบรรเลงโน้ตสามพยางค์ติดกันได้
    ดังนั้นจากเหตุการณ์ข้างต้น ผู้วิจัยจึงจัดทำแบบฝึกหัดระนาดเอกมาเพื่อศึกษาในเรื่องของการบรรเลงระนาดเอกซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในสาระการเรียนรู้ศิลปะ ( ดนตรี )
        ในการเรียนดนตรีไทยนั้น มีหลายรูปแบบเช่น เรียนด้านการปฏิบัติ ด้านวิชาการหรือทฤษฎี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการขับร้องเพลงไทย เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการเรียนดนตรีไทย ผู้วิจัยเห็นว่าการบรรเลงระนาดเอกของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นปัญหาที่น่าสนใจ จึงได้เกิดการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอกของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา” ขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

    1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนในเรื่องการบรรเลงระนาดเอก
    2. เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
    3. เพื่อพัฒนาอารมณ์
    4. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียน
    5. เพื่อพัฒนาผู้เรียนในเรื่องของจังหวะในการบรรเลงระนาดเอก

วิธีการดำเนินการวิจัย
    
1. นำแบบฝึกหัดประกอบการเรียน ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา จำนวน 3 แบบทดสอบ โดยให้นักเรียนฝึกระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอก
จากแบบทดสอบที่ 1 คือ แบบฝึกที่ 1 ฝึกตีเสียงให้มือทั้งสองข้างขึ้นและลงพร้อมๆกัน เรียกว่า “การตีฉาก” แล้วให้นักเรียนฝึกหัดซ้ำๆ ไปมา อย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนรู้สึกเมื่อยล้าแล้วจึงหยุดตี
แบบทดสอบที่ 2 คือ แบบฝึกที่ 2 นักเรียนฝึกตีโน้ตเดียวกันสามพยางค์ติดกันให้ชัดเจน เรียกว่า “เสดาะ”
และแบบทดสอบที่ 3 แบบฝึกที่ 3 นักเรียนฝึกแบบฝึกการตีข้ามโน้ตและตีเรียงโน้ตให้ถูกต้องตามจังหวะและระดับเสียง
ผลจากการฝึก การปฏิบัติระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการปฏิบัติตีระนาดเอก พบว่า นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น มีพัฒนาการตามลำดับ และจากการติดตามผล เด็กจะมีความเข้าใจและคงทนในการจำยาวนาน โดยทดลองฝึกการปฏิบัติตีระนาดเอก โดยใช้แบบฝึกหัดควบคู่ไปกับการเรียนในหลักสูตรปกติ พบว่า เวลาเรียนเพียง 4 สัปดาห์ นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติตีระนาดเอก ได้ผลดียิ่งขึ้น

2. ได้จำแนกการเรียนรู้ ออกเป็น 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นความรู้ ขั้นเข้าใจ ขั้นนำไปใช้ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์
และขั้นประเมินคุณค่า กระบวนการคิดที่สำคัญ ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาการคิดตัดสินใจ
เป็นต้น ดนตรีเป็นสิ่งเร้าที่สำคัญของการทำงานของสมองในการะบวนการคิด ทั้งนี้เพราะการรับรู้ทางดนตรีเกิดจากการจินตนาการ ซึ่งเกิดขึ้นภายในสมองโดยตรง หากสมองได้รับการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอจากเพลงที่มีทำนองง่ายๆ เรียนรู้สัญลักษณ์ทางดนตรีไทย จังหวะยกและตก ซึ่งเป็นทักษะที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการคิดอย่างแท้จริง จึงได้ทดลองสอนการปฏิบัติตีระนาดเอก โดยใช้แบบฝึกหัด ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 4/3 วันละ 20 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยทำการทดสอบ ก่อน/หลัง การอ่านแบบทดสอบ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการปฏิบัติตีระนาดเอก เพิ่มขึ้น
3. ฝึกสมาธิ โดยมีการทำสมาธิก่อนทุกครั้ง สมาธิ หมายถึง ความตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่าง
เดียว คนที่มีสมาธิดี สามารถที่จะทำงานอะไรก็ตามอย่างตั้งอกตั้งใจจนกระทั่งประสบความสำเร็จ สมาธินี้ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จะขยายขอบเขตของช่วงเวลามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายของ
ช่วงเวลาที่จิตใจอยู่ในสภาวะนิ่งหรือคงที่ไปพร้อมๆ กัน สภาวะนิ่งหรือคงที่ของจิตใจ เรียกว่า พลังสมาธิ
โลกปัจจุบันนี้ ยอมรับกันว่า การที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์

    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
         1. แบบฝึกที่ 1 ฝึกตีเสียงให้มือทั้งสองข้างขึ้นและลงพร้อมๆกัน เรียกว่า “การตีฉาก” แล้วให้นักเรียนฝึกหัดซ้ำๆ
         2. แบบฝึกที่ 2 นักเรียนฝึกตีโน้ตเดียวกันสามพยางค์ติดกันให้ชัดเจน เรียกว่า “เสดาะ”
         3. แบบฝึกที่ 3 นักเรียนฝึกแบบฝึกการตีข้ามโน้ตและตีเรียงโน้ตให้ถูกต้องตามจังหวะและระดับเสียง





การดำเนินการทดลอง
    การพัฒนานักเรียนโดยคัดเลือกนักเรียนที่มีปัญหาด้านการปฏิบัติตีระนาดเอก ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : เป็นระยะใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาสติปัญญานักเรียน
ระยะที่ 2 : เป็นระยะพัฒนากระบวนการคิดและการฟัง โดยสังเกตพฤติกรรมการจับจังหวะโน้ต จับใจความของ
นักเรียน
ระยะที่ 3 : เป็นระยะพัฒนาอารมณ์พัฒนาการคิดและการปฏิบัติการฝึกการปฏิบัติตีระนาดเอกของนักเรียน     และเสริมแรงทางบวก
ระยะที่ 4 : เป็นระยะทดสอบเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติการตีระนาดเอกวัดผลสัมฤทธิ์ ด้วยการการปฏิบัติตี     ระนาดเอก
ตารางสรุปผลการปฏิบัติการขับร้องเพลงไทย

สัปดาห์ที่    กิจกรรมที่ปฏิบัติ    ปฏิบัติได้    ปฏิบัติได้บ้าง    ปฏิบัติไม่ได้
1. มกราคม    แบบฝึกที่ 1 ฝึกปฏิบัติตีฉาก    ( 60 % )    ( 40 % )    -
2. มกราคม    แบบฝึกที่ 2 ฝึกปฏิบัติตีเสียงสะเดาะ    ( 73.33 % )    ( 26.66 % )    -
3. มกราคม    แบบฝึกที่ 3 ฝึกตีเรียงโน้ต,ข้ามโน้ต    ( 80 % )    ( 20 % )    -
4. มกราคม    การปฏิบัติระนาดเอก    ( 100 % )    -    -

สรุปผลการวิจัย
    ผลจากการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาการบรรเลงระนาดเอกโดยใช้แบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดเอกของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา ” จากการนำไปดำเนินการ นักเรียนได้พัฒนาการปฏิบัติระนาดเอกจนเกิดความชำนาญ เกิดทักษะความเข้าใจอย่างแท้จริง การปฏิบัติระนาดเอกยังเป็นการช่วยเสริมสร้างสมาธิ ฝึกความจำ ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติระนาดเอกที่ดีและส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
    จากการสรุปการทดสอบนักเรียน ในการพัฒนาการปฏิบัติระนาดเอก ได้ดังนี้
1. นักเรียนสามารถปฏิบัติระนาดเอกเสียงเท่าทั้งสองมือพร้อมๆ กัน ได้ชัดเจนถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถปฏิบัติระนาดเอกเสียงเสดาะสามพยางค์ ได้ชัดเจนถูกต้อง
3. นักเรียนสามารถปฏิบัติระนาดเอกเรียงเสียงและข้ามเสียง ตีให้มือเท่าทั้งลงบนผืนระนาดเอก พร้อมๆ กัน ได้ชัดเจนถูกต้องได้ตรงตามอัตราจังหวะ
4. นักเรียนสามารถปฏิบัติระนาดเอกให้ได้เสียงที่เราะถูกต้องและมีคุณภาพ
5. นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการระนาดเอกในการบรรเลงประกอบการขับร้องเพลงไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
6. นักเรียนสามารถนำความรู้จากการปฏิบัติการปฏิบัติการระนาดเอกไปใช้ในการปฏิบัติการระนาดเอกได้จริง

ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการระนาดเอกบ่อยครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
2. ควรจัดให้มีการทดสอบเพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาการปฏิบัติการระนาดเอกตลอดเวลา
3. ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนดนตรีเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง มีสมาธิและวินัย
ในตนเองที่ดียิ่งขึ้น
4. กลุ่มนักเรียนที่ต้องพัฒนาได้แก่ นักเรียนที่เรียนดนตรีประเภทอื่นๆ ควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิด
ความชำนาญมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนนักเรียนที่เรียนดนตรีไทยควรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


sorosin 29 ม.ค. 2563 เวลา 13:57 น. 0 704
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^