LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 61 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ชีวิตปลอดภัยในสถานศึกษาปลอดยาเสพติดและอบายมุข

usericon


การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการการดำเนินการห้องเรียนสีขาว
ชื่อผลงาน ชีวิตปลอดภัย ในสถานศึกษา ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ผู้เสนอผลงาน โรงเรียนบ้านหัวขัว หมู่ที่ ๙ ตำบลท่าขอนยาง
อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม    
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
โทรศัพท์มือถือ ๐๘๖-๒๓๑๒๙๑๑
e-mail : huakuaschool๑@gamil.com

๑. เหตุผล/ความสำคัญของผลงาน/ความเป็นมาของโรงเรียน
การจะพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมและมีชีวิตที่สมบูรณ์ตามที่สังคมมุ่งหวังโดยผ่านกระบวนการศึกษานั้น นอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและช่วยเหลือแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในเชิงบวกแล้วในเชิงลบก็มีผลปรากฏเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาการระบาดของสารเสพติด โรคเอดส์ การพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามความมุ่งหวัง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคนโดยเฉพาะบุคลากรครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องดูแลเอาใจใส่ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดก็คือมาตรการที่ครูต้องช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่นักเรียนไม่ปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นปัญหาของสังคมในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด ครูจึงจำเป็นต้องพยายามอย่างมากในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อช่วยเหลือดูแลนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้มีคุณธรรมจริยธรรมและมีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งแนวทางการจัดการศึกษายังได้ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคนโดยยึดหลักว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ยาเสพติด เป็นปัญหา สำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการแพร่ ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งทางด้านการเมือง และความมั่นคงของประเทศ
        โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่กำลังระบาดอย่างรวดเร็วในทุกจังหวัดของประเทศไทย และเป็น ปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อหลายแสนคนและในแต่ละวันมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ทำให้สูญเสียทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มเยาวชน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน การพนัน การทะเลาะวิวาท ติดเกม สื่อลามกอนาจาร ฟุ่มเฟือย และวัตถุนิยมเกินฐานะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนที่สังคมไม่ยอมรับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน นิสิต นักศึกษา การป้องกันและแก้ไขปัญหา เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
ดังนั้นในการพัฒนานักเรียน ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ความสามารถมีคุณธรรม จริยธรรม มีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรครูทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครูอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญ และกลุ่มเพื่อนเป็นพลังสำคัญอันหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการป้องกันปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และอุบัติภัย ซึ่งทางโรงเรียนบ้านหัวขัวได้จัดให้มีกิจกรรมห้องเรียนสีขาวภายใต้โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขขึ้น โดยนักเรียนแกนนำถ่ายทอดความรู้ ตักเตือน กระตุ้นเพื่อนนักเรียนด้วยกัน เพื่อป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และลดอุบัติภัย

๒. วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
๑. เพื่อให้นักเรียน ที่มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือได้รับคำปรึกษาแนะนำที่ถูกต้อง เหมาะสม จากผู้ที่เป็นแกนนำ และครูที่ปรึกษา
๒. เพื่อให้มีนักเรียนแกนนำในห้องเรียนดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตักเตือน แนะนำเพื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บุหรี่ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อบายมุขที่เป็นสิ่งมัวเมาทั้งหลายและปัญหาอุบัติภัย
๓. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติดปัญหา บุหรี่ โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และอบายมุข มีนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนแกนนำประจำห้อง และครูที่ปรึกษา บริหารจัดการ การอบรม การสนับสนุนกิจกรรม และติดตามประเมินผล

แผนภูมิการบริหารจัดการ โครงการห้องเรียนสีขาว โรงเรียนบ้านหัวขัว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1

โรงเรียนสีขาวดีเด่น ระดับเงิน ระดับทอง ระดับเพชร
โครงการห้องเรียนสีขาว โรงเรียนบ้านหัวขัว

3.การดำเนินงาน ( Best Practice )
ในการดำเนินงานตามโครงการห้องเรียนสีขาวของโรงเรียนบ้านหัวขัวได้ดำเนินการ ๔ ขั้นตอน ดังนี้
๓.๑ การวางแผน ( Plan )
๓.๑.๑ ประชุมชี้แจงคณะครู เพื่อรับทราบนโยบายการดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาวภายใต้ โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๓.๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
๓.๑.๓ ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองเพื่อรับทราบนโยบายการดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
๓.๑.๔ แต่งตั้งคณะกรรมการห้องเรียน 4 ฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ห้องเรียนสีขาว
๓.๑.๕ ประชุมชี้แจงนักเรียนและจัดองค์กรภายในห้องเรียนประกอบด้วยแกนนำนักเรียน 4 ฝ่าย คือ
๓.๑.๕.๑ ฝ่ายการเรียน
๓.๑.๕.๒ ฝ่ายการงาน
๓.๑.๕.๓ ฝ่ายกิจกรรม
๓.๑.๕.๔ ฝ่ายสารวัตรนักเรียน    
    ๓.๒ การดำเนินงาน ( Do )
ทางโรงเรียนได้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ 4 ด้าน ประกอบด้วย
๓.๒.๑ การจัดการให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ เช่น จัดบอร์ด จัดทำ สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือวารสาร จดหมายข่าว ฯลฯ ที่มีความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัย
อันควร อุบัติภัย และอบายมุข นำสถานการณ์ข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักเรียนรับฟัง
๓.๒.๒ การดูแลช่วยเหลือ จัดให้มีนักเรียนแกนนำดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันตอบสนองปัญหาของพฤติกรรมของนักเรียน ช่วยเหลือด้านการเรียนและให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ หากไม่สามรถแก้ได้ให้รายงานครูที่ปรึกษา
๓.๒.๓ เอื้อเฟื้อด้วยคุณธรรม นักเรียนทุกคนต้องมีหลักธรรมคำสอนตามศาสนาที่ตนเองนับถือมาเป็นหลักยึดปฏิบัติในห้องเรียน จะทำให้ทุกคนรักกัน ช่วยเหลือกัน
๓.๒.๔ กิจกรรมสร้างสรรค์ มีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยให้มีความสามัคคี และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่มั่วสุมกับยาเสพติดหรือสื่อลามกอนาจาร เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี ศิลปะและกิจกรรมตามกลุ่มสนใจ ร่วมกันจัดทำมาเพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจ รวมทั้ง กิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

๓.๓ การตรวจสอบและการประเมินผล ( Check )
๓.๓.๑ จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานห้องเรียนสีขาว 4 ด้าน คือ
- ความพึงพอใจด้านการดำเนินงานห้องเรียนสีขาว
- ความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
- ความพึงพอใจด้าน การจัดการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ
- ความพึงพอใจด้านพฤติกรรมของบุตรหลาน
๓.๓.๒ นำแบบประเมินสอบถามความพึงพอใจต่อการดำเนินงานห้องเรียนสีขาวของครู ผู้ปกครอง ชุมชน
๓.๓.๓ สรุปและรายงานผลการดำเนินงานห้องเรียนสีขาวต่อสาธรณชนและผู้เกี่ยวข้องทราบ

๓.๔ การปรับปรุงแก้ไข ( Action )
ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง









๔. ผลการดำเนินงาน
๔.๑ ผลผลิต ( Outputs )
ด้านผู้เรียน
๑. ผู้เรียนบอกถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุขได้ทุกคนในแต่ละห้องเรียนได้ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๒. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ถึงโทษของการใช้ยาเสพติด โรคทางเพศสัมพันธ์ อุบัติภัยและอบายมุขได้ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๓. ผู้เรียนรู้จักหลีกเลี่ยง ป้องกันตนเองจากยาเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงโรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุขได้ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๔. นักเรียนแกนนำชักชวนหรือแนะนำเพื่อป้องกันให้หลีกเลี่ยงจากการใช้ยาเสพติด พฤติกรรมเสี่ยงโรคเอดส์ อุบัติภัย และอบายมุขได้ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๕. ผู้เรียนมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมห้องเรียนสีขาวอย่างชัดเจน
๖. ผู้เรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมห้องเรียนสีขาวอย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๗. ผู้เรียนมีการสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ นำมาจัดหมวดหมู่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
๘. ผู้เรียนมีการประเมินการดำเนินงาน และนำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุง
๙. ผู้เรียนในห้องมาโรงเรียนทันเวลา ร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๑๐. ผู้เรียนทุกคนในห้องปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษา
๑๑. ผู้เรียนในห้องจัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมในการป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุขร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
๑๒. ผู้เรียนทุกคนปลอดจากยาเสพติดทุกประเภท ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงกับโรคเอดส์ ปลอดภัยจากอุบัติภัยและอบายมุขร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป

ด้านห้องเรียน
๑. มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันแก้ไขยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและ
อบายมุขพร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน
๒. มีการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ และกิจกรรมตามข้อ 1 อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการมีส่วนร่วม
๓. มีการประเมินผลการดำเนินงานและรายงานผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
๔. มีการนิเทศติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทุกเดือน
๕.ในห้องเรียนมีการนำผลการเรียนรู้จากกลุ่มสาระต่าง ๆ มาจัดกิจกรรมโดยการบูรณาการให้
สอดคล้องกับการป้องกัน
๖. ในห้องเรียนมีการจัดทำผลงาน หรือร่องรอย (ชิ้นงาน) การจัดกิจกรรมปลอดยาเสพติด
พฤติกรรมเสี่ยงกับโรคเอดส์
๗. การป้องกันอุบัติภัยและไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขในห้องเรียน มีสื่อที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไข
๘. มีการประเมินผลที่สอดคล้องกับการปลอดยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุข
๙. ห้องเรียนมีบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนปลอดยาเสพติดโรคเอดส์ อุบัติภัยและ อบายมุข
๑๐. ห้องเรียนสะอาด มีระเบียบ สวยงาม น่าอยู่ และปลอดภัยแก่ผู้เรียน
๑๑.ในห้องเรียนมีการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
๑๒.ในห้องเรียนมีการจัด และใช้แหล่งเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์
อุบัติภัยและอบายมุข

ด้านครูทีปรึกษา/ผู้ปกครอง/ชุมชน
๑. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือในการมีส่วนร่วมและวางแผนการ
ดำเนินงานห้องเรียนสีขาว
๒. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครองให้ความร่วมมือดำเนินการประเมินผลห้องเรียนสีขาว
๓. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ชุมชน และองค์กรอื่น ให้ความร่วมมือในการมีส่วนร่วม และวางแผน
การดำเนินงานห้องเรียนสีขาว
๔. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ชุมชน และองค์กรอื่น ให้ความร่วมมือในการดำเนินการประเมินผล
ห้องเรียนสีขาว
๕. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรอื่น ความพึงพอใจในการดำเนินงาน
ห้องเรียน
๖. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรอื่น มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
ห้องเรียนสีขาว
๗. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรอื่น มีความพึงพอใจพฤติกรรมของบุตร
หลานในโรงเรียน
๘. ครู อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรอื่น มีความพึงพอใจในการจัด
สภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ

๔.๒ ผลลัพธ์ (Outcomes)
๑. โรงเรียนจัดประชุมชี้แจงนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
๒. โรงเรียนกำหนดทิศทางจัดทำแผนงาน /โครงการ /กิจกรรมปฏิบัติงาน ชัดเจน
๓. โรงเรียนแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและมอบหมายงาน ชัดเจน
๔. โรงเรียนสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน
๕. ผู้ปกครองชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ห้องเรียนสีขาว
๖. โรงเรียนมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
๗. โรงเรียนมีการรายงานผลการดำเนินงาน
๘. โรงเรียนมีการนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
๙. ครูมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจัดกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
๑๐. มีการจัดโครงสร้าง และมอบหมายภาระหน้าที่ให้กับนักเรียนทั้ง ๔ ด้าน
๑๑. จัดหาสื่อ และเครื่องมือในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม
๑๒. จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรม
๑๓. จัดกิจกรรมตามมาตรฐานห้องเรียนสีขาว
๑๔. มีการใช้แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรม
๑๕. ชุมชน / ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานห้องเรียนสีขาว
๑๖. มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมและรายงานผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
๑๗. ห้องเรียนมีแผนงาน/โครงการ กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันแก้ไขยาเสพติด โรคเอดส์
อุบัติภัยและอบายมุข พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบอย่าง ชัดเจน
๑๘. ห้องเรียนมีบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปลอด
ยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุข
๑๙. ห้องเรียนสะอาด มีระเบียบ สวยงาม น่าอยู่และ ปลอดภัยแก่ผู้เรียน
๒๐. ห้องเรียนมีการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
๒๑. ห้องเรียนมีการจัด และใช้แหล่งเรียนรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โรคเอดส์
อุบัติภัยและอบายมุข
๒๒. ห้องเรียนมีสื่อที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขยาเสพติด โรคเอดส์ และอบายมุข
๒๓. ห้องเรียนมีการนำผลการเรียนรู้จากกลุ่มสาระต่างๆมาจัดกิจกรรมโดยบูรณาการให้
สอดคล้องกับการป้องกัน ยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุข
๒๔. ผู้เรียนมีสุขกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัยที่เหมาะสม
๒๕. ผู้เรียนบอกถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและอบายมุขได้
๒๖. ผู้เรียนรู้จักหลีกเลี่ยง และป้องกันตนเองจากยาเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยง โรคเอดส์
อุบัติภัยและอบายมุขได้
๒๗. ผู้เรียนชักชวนหรือแนะนำเพื่อนๆหลีกเลี่ยงจากการใช้ยาเสพติด พฤติกรรมเสี่ยง โรค
เอดส์ อุบัติภัย และอบายมุข
๒๘. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจห้องเรียนสีขาว
๒๙. ผู้เรียนเป็นเครือข่ายอาสาสมัครในการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด โรคเอดส์ อุบัติภัยและ
อบายมุข
๓๐. ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุขและพึงพอใจกับ ความสำเร็จของตนเอง
5. ปัจจัยความสำเร็จ
๑. นักเรียนแกนนำทั้ง ๔ ฝ่ายเข้าใจบทบาทหน้าที่ในภารกิจและดำเนินงานอย่างจริงจังเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ ทั้ง ๔ ด้านของห้องเรียนสีขาว
๒. ครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและดูแลนักเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนและมีความสุขที่จะพัฒนา
3. ผู้บริหารมีการบริหารจัดการ กำกับ ติดตามและ ประเมินผล
๔. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง (MOU)
๕. ชุมชนทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการห้องเรียนสีขาวเป็นอย่างดี
๖. สถานศึกษาได้โล่รับรางวัล ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕7 - ๒๕๕9 ของ ป.ป.ส. ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู่เพื่อเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ

๖. ปัญหาอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
๑. นำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เทียบเคียง เพื่อปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีขาวให้ก้าวหน้าต่อไป
๒. ผู้รับผิดชอบ ควรนำรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ โดยปรับให้เหมาะสม กับสภาพบริบทของโรงเรียน เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๓. ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อการวางแผนพัฒนาผู้เรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนางานฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อประสิทธิภาพกับการบริหารจัดการต่อไป
๔. สร้างความเข้าใจกันดีในบรรยากาศที่เป็นมิตรระหว่างครูกับนักเรียนและผู้ปกครอง ส่งผลให้เกิดความผูกพันความร่วมมือ และเกิดประสิทธิภาพกับการดำเนินงานตามโครงการห้องเรียนสีขาว
๕. ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการประสานงานกับผู้ปกครองและชุมชนให้มากขึ้นอย่างมีระบบ เพื่อดูแลนักเรียนให้ปลอดจากยาเสพติด โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ อบายมุขที่เป็นสิ่งมัวเมาทั้งหลายและปัญหาอุบัติภัยอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่
    โรงเรียนบ้านหัวขัว ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการจัดนิทรรศการในงานยาเสพติดต่างๆ และเผยแพร่เอกสารลงเว็บไซต์โรงเรียน


แบบรายงานผลการดำเนินงาน ตามโครงการห้องเรียนสีขาว
โรงเรียนบ้านหัวขัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๑

๑. ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหัวขัว ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย
จังหวัดมหาสาคาม รหัสไปรษณีย์ ๔๔๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๔๓-๗๔๙-๑๐๒
โทรศัพท์มือถือ ๐๘๖-๒๓๑๒๙๑๑

๒. สภาพห้องเรียน - ครู - นักเรียน
ชั้น ป. ๑ ห้องเรียนทั้งหมด ๑ ห้อง นักเรียน ร่วมโครงการ จำนวน ๙ คน
ครูที่ปรึกษา ๑ คน คือ นางสุดใจ แซ่เอี้ย
ชั้น ป. ๒ ห้องเรียนทั้งหมด ๑ ห้อง นักเรียน ร่วมโครงการ จำนวน ๕ คน
ครูที่ปรึกษา ๑ คน คือนางสาวพรพิมล เพิ่มทอง
ชั้น ป. ๓ ห้องเรียนทั้งหมด ๑ ห้อง นักเรียน ร่วมโครงการ จำนวน ๖ คน
ครูที่ปรึกษา ๑ คน คือ นางสุดใจ แซ่เอี้ย
ชั้น ป.๔ ห้องเรียนทั้งหมด ๑ ห้อง นักเรียน ร่วมโครงการ จำนวน ๑๐ คน
ครูที่ปรึกษา ๑ คน คือ นางสาวพรพิมล สุขาภิรมย์
ชั้น ป.๕ ห้องเรียนทั้งหมด ๑ ห้องนักเรียน ร่วมโครงการ จำนวน ๖ คน
ครูที่ปรึกษา ๑ คน คือ นางสาวอาธิมา สุขาภิรมย์
ชั้น ป.๖ ห้องเรียนทั้งหมด ๑ ห้อง นักเรียนร่วมโครงการ จำนวน ๑๓ คน
ครูที่ปรึกษา ๑ คน คือ นางศิริพร พิมพ์ภักดิ์
รวมจำนวน ห้องเรียน ๖ ห้อง นักเรียน ร่วมโครงการ จำนวน ๖๒ คน ครูที่ปรึกษา ๕ คน


ปฏิทินการประเมินห้องเรียนสีขาวโรงเรียนบ้านหัวขัว

ประจำเดือน มิถุนายน ๒๕๖๑
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
2๑ มิ.ย. 256๑    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๒ มิ.ย. 256๑    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน


    ประจำเดือนกรกฎาคม 256๑
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
๑๙ ก.ค. 256๑    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๐ ก.ค. 256๑    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน

    ประจำเดือน สิงหาคม 256๑
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
2๓ ส.ค. 256๑    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๔ ส.ค 256๑    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน

    ประจำเดือน กันยายน 256๑
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
2๐ ก.ย. 256๑    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๑ ก.ย 256๑    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน

    ประจำเดือน พฤศจิกายน 256๑
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
2๒ พ.ย. 256๑    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๓ พ.ย. 256๑    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน

    ประจำเดือน ธันวาคม 2561
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
2๐ ธ.ค. 256๑    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๑ ธ.ค. 256๑    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน
ประจำเดือน มกราคม 256๒
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
2๔ ม.ค. 256๒    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๕ ม.ค. 256๒    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน

    ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 256๒
วัน/เดือน/ปี
เวลา    ๐๙.๓๐-๑๐.๓๐    ๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐    ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐    คณะกรรมการประเมิน
๒๑ ก.พ. 256๒    ป.1    ป.2    ป.3    คณะกรรมการประเมิน
2๒ ก.พ. 256๒    ป.4    ป.5    ป.6    คณะกรรมการประเมิน

ผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ด้านการป้องกัน
๑.จัดทำคู่มือ แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๒. จัดทำคู่มือ แนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีขาว
๓. คำสั่งโรงเรียนบ้านหัวขัว ที่ 24/256๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน
๔. คำสั่งโรงเรียนบ้านหัวขัว ที่ 28/256๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องเรียน
สีขาว
๕. แผนการดำเนินงานการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหัวขัว
๖. นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และอบายมุข โรงเรียนบ้านหัวขัว
๗. จัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE
๘. จัดตั้งกองลูกเสือ ป.ป.ส. ต้านยาเสพติด
๙. จัดทำหลักสูตรลูกเสือยาเสพติด
๑๐. กิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อป้องกันยาเสพติด ได้แก่
         - กิจกรรมครูทหาร ครูพระ วิทยากร
    - กิจกรรมรณรงค์วันสำคัญต้านยาเสพติด
        - กิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา
- กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด
- กิจกรรมค่ายคุณธรรม สมุดบันทึกความดี
- กิจกรรมจิตอาสา ผู้บำเพ็ญประโยชน์
- กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา
- กิจกรรมชุมนุมและชมรม ต่างๆ

๑๑. จัดทำแผนบูรณาการ การเรียนการสอน เรื่อง ยาเสพติดทุกกลุ่มสาระ
๑๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมด้าน สุขภาพ อนามัย อารมณ์ สังคม ให้กับนักเรียน ได้แก่
        - การแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ
        - การเล่นตรี
        - การออกกำลังกาย
        - การตรวจสุขภาพอนามัยของนักเรียน
        - กิจกรรมสภานักเรียน
         - กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
๑๓. กิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียน
๑๔. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๑๕. ประสาน เชิญ วิทยากร หน่วยงาน องค์กร ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปราม ป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติด มาอภิปราย บรรยาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับนักเรียน
๑๖. จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูล ข่าสาร ต้านยาเสพติดและสารเสพติด ได้แก่
- การจัดสัปดาห์รณรงค์ป้องกันยาเสพติดและสารเสพติด
- การเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
- การให้ความรู้กับผู้ปกครองในวันปฐมนิเทศของการเปิดภาคเรียนแรกทุกปี
- การประกวดเรียงความโทษของยาเสพติดและสารเสพติด
- การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับยาเสพติด
- การจัดเสียงตามสายภายในโรงเรียน
- การอบรมนักเรียนหน้าเสาธง
๑๗. การจัดกิจกรรม โครงการเสริมทักษะชีวิต ได้แก่
- การอบรมตามโครงการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การศึกษานอกสถานที่
๑๘.การปรับภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เป็นการจัดอาคารสถานที่ ห้องเรียน
อาคารประกอบการต่างๆ ห้องน้ำ ให้น่าอยู่ น่าเรียน ไม่ให้เป็นสถานที่ที่นักเรียนลักลอบ
หรือลบซ่อน มั่วสุ่ม เสพยาเสพติดและสารเสพติด

ด้านการค้นหา
๑. ดำเนินการงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน
๒. ดำเนินการสุ่มตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
๓. ดำเนินการคัดกรอง สำรวจ การใช้สารเสพติด
๔. จัดให้มีระบบการค้นหาโดยให้นักเรียนแกนนำ ครูแกนนำ ครูที่ปรึกษา ด้วยการ
สังเกตพฤติกรรม ตรวจค้น สอดส่อง ตรวจตรา





ด้านการรักษา
กลุ่มเสพ กลุ่มติด ดังนี้
ได้มีการดำเนินการ หรือมอบหมาย กำหนดนโยบาย การบำบัด รักษา กลุ่มเสี่ยง
๑. จัดให้มีระบบการส่งต่อให้หน่วยงาน ส่วนราชการ ที่ที่เกี่ยวข้อง บำบัด ดูแล รักษา
๒. ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๓. ดำเนินการด้านจิตสังคมบำบัดในโรงเรียน
๔. จัดให้มีคลินิกการให้คำปรึกษา แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ด้านป้องกันแก้ไขปัญหา
เกี่ยวกับ ยาเสพติด
๕.ดำเนินการสำรวจข้อมูลนักเรียน โดยแยกประเภทนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่ติด กลุ่มทดลองแต่ไม่ติด กลุ่มที่มีพฤติกรรมมีแนวโน้มที่จะ
เข้าไปยุ่งเกี่ยวสารเสพติด และกลุ่มปกติ แล้วดำเนินการ
๑)ประสานกับผู้ปกครองนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการดูแล รักษา ป้องกันและแก้ไขปัญหา
๒) ส่งไปบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อรับการบำบัดรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ด้านการเฝ้าระวัง
ดำเนินการให้มีระบบและกลไก เฝ้าระวังสถานการณ์แพร่ระบาดของยาเสพติดที่ก่อให้เกิด
ความเข็มแข็งและยั่งยืน ได้แก่
๑. จัดกิจกรรมเฝ้าระวัง ได้แก่
๑) การสร้างเครือข่าย เฝ้าระวัง ป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหานักเรียน กลุ่มเสี่ยง
กลุ่มมีปัญหายาเสพติดและอบายมุข    
๒) โครงการตำรวจประสานโรงเรียน ๑ ตำรวจ ๑ โรงเรียน
๓) กิจกรรมหน้าเสาธง ๕ นาที
๔) กิจกรรมโฮมรูม
5) กิจกรรมแนะแนว
๒. จัดให้มีนักเรียนแกนนำ เฝ้าระวังพื้นที่ต่างๆ
๓. จัดครูเวรประจำวัน เฝ้าระวังพื้นที่ต่างๆ ในโรงเรียน
๔. จัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปลอดสิ่งเสพติด
๕. ทำการสุ่มตรวจปัสสาวะนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา เพื่อหาสารเสพติด โดยไม่บอกล่วงหน้า หากตรวจพบจะดำเนินการ ดังนี้
- การจัดทำประวัติร่วมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- เชิญผู้ปกครองนักเรียนทั้งที่ตรวจพบสารเสพติด และที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มาปรึกษา หารือ หาแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไขปัญหา ไม่ให้นักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข อีก






ด้านการบริหารจัดการ
จัดให้มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ปลอดยาเสพติดอย่างเข็มแข็งและยั่งยืน
๑. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดของโรงเรียน
๒. จัดให้มีแผนงานและโครงการ / กิจกรรมป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓. จัดให้มีการประชุม และออกค าสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
๔. จัดให้มีความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบูรณาการการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
๕. ดำเนินการกำกับ ติดตาม นิเทศ ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานให้ส่วนราชการ หน่วยงาน และผู้ที่มีเกี่ยวข้องรับทราบ

กลยุทธ์ ๔ ต้อง ๒ ไม่
ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามกลยุทธ์ ๔ ต้อง ได้แก่
๑.มียุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยดำเนินการ ดังนี้
๑.๑ จัดทำโครงการ
๑.๒ กำหนดนโยบาย
๒ มีแผนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓. มีระบบข้อมูลการดำเนินงาน ๔ ด้าน ได้ทำการจัดเก็บ และรวบรวมข้อมูล การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข ทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่
๓.๑ ด้านการป้องกัน
๓.๒ ด้านการเฝ้าระวัง
๓.๓ ด้านการดูแลช่วยเหลือ
๓.๔ ด้านการบริหารจัดการ
๔. มีเครือข่ายการทำงาน ได้จัดสร้างเครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข
การดำเนินการ ๒ ไม่ การดำเนินการป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข
ได้ดำเนินการ ๒ ไม่ ดังนี้
๑. ไม่ปกปิดข้อมูล กลุ่มเสพ กลุ่มติด และกลุ่มค้ายาเสพติด
๒. ไม่ผลักปัญหา ไม่ไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน เมื่อบำบัดรักษาหายดีแล้ว
สามารถกับมาเรีย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^