LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทัก

usericon

ชื่องานวิจัย :    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย    : นางทัศนีย์ นอนา    
ปีการศึกษา    : 2561
สถานศึกษา    : โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง)

บทคัดย่อ

1.    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (6D Model) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ (6D Model) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (6D Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านในเมือง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แบบประเมินทักษะความสามารถในการแก้ปัญหา แบบประเมินทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทดสอบที (t- test)

ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ดำเนินการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ มีชื่อเรียกว่า “6D Model” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการกำหนดปัญหา (Define: D)
2) ขั้นการอภิปราย (Discuss: D) 3) ขั้นการสาธิต (Demonstrate :D) 4) ขั้นการโต้แย้ง (Debate: D)
5) ขั้นตัดสินใจ (Decide: D) 6) ขั้นพัฒนา (Develop: D) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.61/85.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ที่เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D = 0.46)

rainya 02 ก.ย. 2562 เวลา 02:21 น. 0 584
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^