LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับ
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย    นางสุพรรณี ผิวศรี
ปีที่จัดทำ พ.ศ.        2562

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4)เพื่อประเมินผลหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)ประเมินทักษะการทำโครงงาน และความรู้ความเข้าใจกิจกรรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2)การสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) 3)แผนการจัดการเรียนรู้ 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5)แบบวัดการคิดวิเคราะห์ 6) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 7)ประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8)แบบประเมินความสามารถในการจัดทำโครงงาน 9)แบบประเมินคามสามารถในการทำงานเป็นทีม และ10) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้1) วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพผลการจัดการเรียนรู้ คำนวณจากสูตร E1/E2 2) วิเคราะห์ความก้าวหน้าของนักเรียนโดยใช้สูตร T-test แบบ Dependent และ 3) วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความสามารถในการทำโครงงาน และความพึงพอใจ การทำงานเป็นทีม ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมโดย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานนักเรียน พบว่านักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิชาชีววิทยา เห็นด้วยว่าการนำรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและบริบทเชิงพื้นที่การนำรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นรูปแบบที่จะนำมาพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้
    2. ผลของการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ได้รูปแบบที่เป็นการบูรณาการกิจกรรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเข้ากับกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน โดยมีกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ดังนี้ประกอบด้วย 8 ขั้น คือ 1)ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing) 2)ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Defining)3)ขั้นศึกษาค้นคว้าข้อมูล (Searching) 4) ขั้นวางแผน (Planning) 5)ขั้นดำเนินโครงงาน (Doing) 6)ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ (Summary) 7)ขั้นนำเสนอและประเมินผล (Presenting and Assessing) และ 8)ขั้นเผยแพร่โครงงานบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Publishing and Public Service) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 83.25/ 82.90 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80/80
    3.ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า
     3.1 ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( =56.37, S.D.= 3.70)สูงกว่าก่อนเรียน ( =36.80, S.D.= 4.07)
     3.2 ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีระดับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( =4.12,S.D.= 0.45 ) อยู่ในระดับมาก
     3.3 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีระดับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( =2.55 S.D.= 0.61) อยู่ในระดับดี
     3.4 ทักษะการจัดทำโครงงานหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ มีระดับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( =4.23 S.D.= 0.89 ) ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับมาก
     3.5 ความสามารถในการทำงานเป็นทีมหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีระดับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ( =4.27,S.D.= 0.50) ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก ( =4.04 ,S.D.= 0.59)
kodnaja22 31 ส.ค. 2562 เวลา 13:14 น. 0 552
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^