LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ระบำมโนราห์โรงครู

usericon

ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ศศิธร ระเบียบพล
ปีที่วิจัย 2561

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ ให้มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 39 คน ทดลองใช้ในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เป็นเวลา 16 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One – Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test)
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PTPES Model โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PTPES Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation: P) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Teaching: T) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะ (Practicing: P) ขั้นที่ 4 ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation: E) และขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarizing: S) โดยความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในระดับมาก
    2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model)) ร่วมกับการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และก่อนเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ .01
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู มีคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 3.75 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .49 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การพิจารณาระดับความพึงพอใจ แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) ร่วมกับการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู อยู่ระดับมาก
panuwat19701 30 ส.ค. 2562 เวลา 19:39 น. 0 556
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^