LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน     นางวัฒนาพร รังคะราช
หน่วยงาน    โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
        สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา     2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียน การสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (x-bar ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (Independent t-test ) และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นการกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement : E) ประกอบด้วยการตรวจสอบความรู้เดิม (Reviewing Knowledge) และเสริมความรู้พื้นฐาน (Providing Fundamental Knowledge) 2) ขั้นที่ 2 ขั้นไตร่ตรอง (Reflective: R) ประกอบด้วยขั้นการเผชิญสถานการณ์ปัญหาและพัฒนาความคิด (Facing a problem situation and Thinking Development) ขั้นการสาธิตและอภิปรายวิธีแก้ปัญหา (Demonstration and Sharing) และขั้นการเสนอความคิดกลุ่มใหญ่และเปิดใจร่วมกัน (Presentation and Open mind together) 3) ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายสรุปและฝึกทักษะ (Explanation and Practice : E) และ 4) ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินค่าความรู้ความเข้าใจ (Enumeration: E) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model เพื่อพัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.82/77.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
    2. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนรู้คณิตศาสตร์ แบบ E-REE Model นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
    3. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model พัฒนาขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียน
    4. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ E-REE Model นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
    5. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบ E-REE Model โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด


















Title : The Mathematics Instructional E-REE Model to Enhance Problem Solving
        and to Develop academic achievement for Matthayomsuksa 3 student.
Author : Wattanaporn Rangcharach    
Organization : Nernyangprachasamukkee School. Kum-mung District, Kalasin Province.
         Kalasin Provincial Administration Organization.
Academic year : 2018

ABSTRACT

    The purposes of this research were to: 1) develop the mathematics instructional model for enhancing problem solving for matayomsuksa 3 students; 2) study an effectiveness of mathematics instructional E-REE Model to enhance problem solving and The samples comprised of ninth grade for matayomsuksa 3 students at Nernyangprachasamukkee School. The instruments were consisted of mathematics instructional E-REE model, lesson plans, problem solving assessment test and questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent, t-test independent and content analysis.
    The results of the study were: 1) the mathematics instructional E-REE model for enhancing problem solving was consisted of principle, objective, learning process and condition of application. In term of learning process included encouragement (E), reflective (R), Explanation and Practice (E) and enumeration (E), and also in term of practice which included guided practice, independent practice and integrated practice steps. The efficiency mathematics instructional E-REE model met the criterion of 77.82/77.21, that was higher than the required criterion; 2) problem solving of the students after using this mathematics instructional E-REE model were statistically significant higher than before the instruction at 0.01 level; 3) problem solving of the students were gradually increased during the study period. 4) students had higher academic achievement than before the instruction at 0.01 level 5) the opinion of the students toward the instruction with the developed mathematics instructional E-REE model were at the highest agreement level. Problem solving of the students were also gradually increased during the study period. The opinion of the students toward the instruction with the developed mathematics instructional E-REE model were also at the highest agreement level.
nidmanida 30 ส.ค. 2562 เวลา 12:54 น. 0 765
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^