LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรง

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี
ชื่อผู้ประเมิน    นายก่อพงศ์ พรหมทา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญพิเศษ
ปีที่ประเมิน    2560

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    รายงานผลการดำเนินโครงการเสริมเสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) ประเมินแผนการดำเนินโครงการ 3) ประเมินเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการ 4) ประเมินการนำโครงการไปปฏิบัติ 5) ประเมินผลลัพธ์ของโครงการ และ 6) ประเมินกำกับติดตามและผลกระทบของโครงการ ตามรูปแบบการประเมินโดยยึดจุดมุ่งหมาย (Goal – Based Model) ของไทเลอร์ (Tyler’s Rationale and Model of Evaluation) โดยทำการประเมินกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 471 คน ประกอบด้วย กลุ่มรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน กลุ่มคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ส่วนกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 214 คน และกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 217 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) แล้วทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 สำหรับรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมินครอบคลุม 6 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) การประเมินแผนการดำเนินโครงการ 3) การประเมินเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการ 4) การประเมินการนำโครงการไปปฏิบัติ 5) การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ และ 6) การประเมินกำกับติดตามและผลกระทบของโครงการ ฉบับที่ 2 สำหรับผู้ปกครองของนักเรียน ประเมินครอบคลุม 2 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินการนำโครงการไปปฏิบัติ และ 2) การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ ฉบับที่ 3 สำหรับนักเรียนประเมินครอบคลุม 2 ด้าน ได้แก่ 1) การประเมินการนำโครงการไปปฏิบัติ และ 2) การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ และฉบับที่ 4 สำหรับนักเรียน เป็นการประเมินผลลัพธ์ของโครงการ (ก่อนและหลังดำเนินโครงการ) ตามองค์ประกอบของคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่ 1) ความขยัน 2) ความประหยัด 3) ความซื่อสัตย์ 4) ความมีวินัย 5) ความสะอาด 6) ความสุภาพ 7) ความสามัคคี และ 8) ความมีน้ำใจ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการทดสอบที (t-test dependent) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ในภาพรวมของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายด้านคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ของกระทรวงศึกษาธิการ รองลงมาเป็นวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ตามลำดับ
    2. ผลการประเมินด้านแผนการดำเนินโครงการ พบว่า ในภาพรวมของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ แผนการดำเนินโครงการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี รองลงมาเป็นแผนการดำเนินโครงการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี และแผนการดำเนินโครงการสอดคล้องกับกลยุทธ์ของโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ตามลำดับ
    3. ผลการประเมินด้านแนวทางการพัฒนาโครงการ พบว่า ในภาพรวมของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความเหมาะสมของการออกแบบกิจกรรม รองลงมาเป็นความพร้อมของบุคลากร/ผู้รับผิดชอบโครงการ/วิทยากร และความเหมาะสมของระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม ตามลำดับ
    4. ผลการประเมินด้านการนำโครงการไปปฏิบัติ พบว่า ในภาพรวมของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม รองลงมาเป็นกิจกรรมแต่ละกิจกรรมดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ และนักเรียนในโรงเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม ตามลำดับ ขณะที่ภาพรวมของผู้ปกครองของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์ และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ รองลงมาเป็นผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นระหว่างการดำเนินกิจกรรมของโครงการ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการ ตามลำดับ ตลอดจนภาพรวมของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการ รองลงมาเป็นนักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์ และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลของโครงการ ตามลำดับ
    5. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการ
     5.1 ผลการประเมินระดับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีระดับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า การเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคีทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาระดับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มขึ้น
     5.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของการดำเนินของโครงการ พบว่า ในภาพรวมของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โรงเรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมที่หลากหลายให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม รองลงมาเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกิจกรรมมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามโครงการ และนักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามนโยบายของโรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี ตามลำดับ ขณะที่ในภาพรวมของผู้ปกครองของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ครูมีความเข้าใจและสามารถให้คำปรึกษา ชี้แนะเกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐานได้ รองลงมาเป็นโรงเรียนนำหลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการมาเป็นนโยบายหลักในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยยึดหลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ตามลำดับ ตลอดจนภาพรวมของ นักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โรงเรียนนำหลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการมาเป็นนโยบายหลักในการจัดการเรียนการสอน รองลงมาเป็นครูมีความเข้าใจและสามารถให้คำปรึกษา ชี้แนะเกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐานได้ และนักเรียนเกิดความตระหนักเกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ จากกิจกรรมต่าง ๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตามลำดับ
    6. ผลการประเมินด้านการกำกับติดตามและผลกระทบของโครงการ พบว่า ในภาพรวมของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โรงเรียนได้นำผลการประเมินโครงการมาทบทวนและปรับปรุง แก้ไขพัฒนา การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนได้มีการนิเทศ ติดตาม ผลการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง และโรงเรียนได้มีการขยายผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
pitakchai444 29 ส.ค. 2562 เวลา 14:36 น. 0 403
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^