LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกทักษะ

usericon

ชื่อเรื่อง         การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
ผู้วิจัย             นางอุไรภรณ์ กองไธสง
ตำแหน่ง            ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา            โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์            ๒๕๖๐

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาในการจัดการ
เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ๒) พัฒนาและศึกษาผลการทดลองจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบ STAD ๓) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยแบบ R&D รวม ๓ ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ ๑ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนของนักเรียน ระยะที่ ๒ การพัฒนาและทดลองใช้ และระยะที่ ๓ การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการพัฒนาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๒๕ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานครูผู้สอน ๒) แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานด้านการอ่านของนักเรียน ๓) แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ๔) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๐ แผน ๕) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน ๕๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test (Dependent Sample) และ t-test (Independent Samples) รวมทั้งนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
    ๑. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ ด้านการอ่านภาษาไทย ที่เชื่อมโยงการพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ครูส่วนมากยังขาดการสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ศักยภาพในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเท่าที่ควร โดยเฉพาะวิธีการคิดออกแบบเนื้อหาและเลือกใช้ข้อความในการอ่านที่มีเหตุผลหรือข้อโต้แย้ง เพื่อชักจูงโน้มน้าวให้ผู้อ่านคิดด้วยการไตร่ตรองและยอมรับเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้สอนเห็นว่าการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรนำมาพิจารณาดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ด้านการคิดไตร่ตรอง อีกทั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ในโรงเรียนเลิงแฝกประชาบำรุง ส่วนมากยังมีความสามารถพื้นฐานการอ่านอย่างมีวิจารณญาณในระดับพอใช้ และต้องการพัฒนาให้มีความสามารถด้านดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก โดยให้มีการพัฒนาแบบฝึกที่มีกิจกรรมหลากหลาย รูปเล่มมีภาพประกอบที่มีสีสันสวยงาม ควรฝึกจากง่ายไปหายาก และเน้นการฝึกเป็นกลุ่ม
    ๒. ผลการพัฒนาและทดลองจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบ STAD ของผู้เรียนพบว่าn แบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย คำนำ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ ใบความรู้ และแบบทดสอบ แบบฝึกทักษะเรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน ๑๐ ชุด
แบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ๘๕.๖๔/๘๓.๘๒
    ๓. การศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ๑) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีความเห็นว่าแบบฝึกมีเนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย มีการ์ตูนและภาพประกอบสวยงาม มีการเรียงลำดับขั้นตอนจากง่ายไปยากทำให้นักเรียนสามารถอ่าน และเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
pang-parn 27 ส.ค. 2562 เวลา 11:05 น. 0 488
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^