LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่ม

usericon

ชื่องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย        ธนกฤต แสนพันตรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้        วิทยาศาสตร์
ปีการศึกษา        2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (CPRC Model)” เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุระสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในส่วนของตัวชี้วัดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดตันตยาภิรม) ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จำนวน 30 คน ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (CPRC Model) ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยดำเนินการการตามขั้นของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R_1) ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis:A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D_1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D&D) ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 คน ตรวจสอบโครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ และนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R_2) เป็นการทดลองใช้ (Implementation: I ) รูปแบบการเรียนการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ในขั้นนี้ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D_2) เป็นการประเมินผล (Evaluate: E) การประเมินและแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (CPRC Model) ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (CPRC Model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ1) ขั้นกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น (curiosity) และความขัดแย้ง (conflict) 2) ขั้นการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน (peer interaction) 3) ขั้นไตร่ตรอง (reflection) 4) ขั้นการจัดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (cognitive restructuring) ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย(X ̅) ตั้งแต่ 4.60-4.80 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตั้งแต่ 0.43-0.55 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (CPRC Model) ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสอดคล้องเชิงโครงสร้าง
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระดับมัธยมศึกษา (CPRC Model) เท่ากับ 84.96/82.86 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (CPRC Model) นักเรียนมีความสามารถในการคิดขั้นสูงโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งยอมรับสมมุติฐานการวิจัยข้อที่ 2 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (CPRC Model) ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดนักเรียนมีความคิดเห็นว่านักเรียนได้ฝึกกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์โดยการชี้แนะของอาจารย์รวมทั้งฝึกด้วยตนเองและฝึกด้วยกับเพื่อนเป็นกลุ่มในระดับมากที่สุด เป็นอันดับ 1และมีความคิดเห็นว่านักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูและเพื่อนในระดับมากเป็นอันดับสุดท้าย

py_sa 24 ส.ค. 2562 เวลา 22:18 น. 0 534
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^