LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 พ.ค. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 76 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 61 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง
    ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย     นางวิจิตรา สุขสานต์
หน่วยงาน     โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา        2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีชัยภูมิ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 29 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 17 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ “In – ABLE Model” ในขั้นการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ขั้น คือ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction : In) (2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Activity : A) ประกอบด้วย 2.1 ขั้นกำหนดปัญหา (Define a problem) 2.2 ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา (Identify) 2.3 ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้าและระดมความคิด (Brainstorm solutions) (3) ขั้นการเรียนรู้ด้วยการสังเคราะห์ความรู้ (Based Learning synthesis of knowledge : B) (4) ขั้นสรุปการเรียนรู้และนำเสนอ (Learning summary & Sharing : L) (5) ขั้นนำไปใช้ (Extend : E) 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบทีแบบไม่อิสระ
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. นักเรียน ครูและผู้ทรงคุณวุฒิให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล มีความคิดเห็นว่าต้องการให้นักเรียนเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริง สื่อการเรียนรู้เป็นใบความรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน และแบบทดสอบ มีการวัดผลโดยการใช้การทดสอบ และมีความต้องการให้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นไปตามรูปแบบที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
     2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 82.26/82.44
     3. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วัดความสามารถในการแก้ปัญหา ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.86 คิดเป็นร้อยละ 74.31 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 81.96/82.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
     4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคระดมสมอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
krusit168 20 ส.ค. 2562 เวลา 10:58 น. 0 434
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^