LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้

usericon

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพี่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในด้านต่างๆ ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ 3.2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ และ 3.3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง จังหวัดสระบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ , แผนการจัดการเรียนรู้ , แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) สถิติทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีชื่อว่า PPES Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ ,วัตถุประสงค์, กระบวนการเรียนการสอนและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยกระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparation: P) 2) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice: P) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นที่ 1 คิดวิเคราะห์ปัญหา ขั้นที่ 2 ระบุปัญหา ขั้นที่ 3 ระบุสาเหตุและทางเลือกในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ 5 สะท้อนความคิด 3) ขั้นประเมินผล (Evaluation :E) และ 4) ขั้นสรุปและประยุกต์ใช้ (Summarize and Applying: S )โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/88.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (PPES Model) นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
isabaross 16 ส.ค. 2562 เวลา 14:51 น. 0 610
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^