LASTEST NEWS

30 เม.ย. 2567สพม.ประจวบคีรีขันธ์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ประจวบคีรีขันธ์ 30 เม.ย. 2567สพป.นครสวรรค์ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 3 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567สพม.เชียงใหม่ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 43 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 30 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 30 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 30 เม.ย. 2567สพม.บุรีรัมย์ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567สพป.บึงกาฬ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 71 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การประเมิน โครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง    : การประเมิน โครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์
         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP     Model)
ผู้วิจัย     : นางสุดชดาวรรณ จำปาทอง
หน่วยงาน    : โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม    
        
บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะเพื่อความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) โดยประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้ร่วมโครงการใน
ครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2559
จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นดังนี้ 1. แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2. แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบริบททั่วไป ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการดำเนินงาน ประเมินผลผลิต แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)
ผลการวิจัยพบว่า
    1. ด้านบริบท
        1.1 สภาพแวดล้อมของโรงเรียน มีพื้นที่อย่างเพียงพอในการดำเนินงาน ตามโครงการ และมีอาคาร ห้องเรียนในการจัดการเรียนการสอนตามโครงการที่ได้ตั้งไว้
        1.2 นโยบายการดำเนินการโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะเพื่อความ เป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการสัมภาษณ์และการสังเกตพบว่า การเน้น
ให้มีกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ มีอุปกรณ์สื่อที่ใช้ในการ
จัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ
    2. ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สภาพห้องเรียน มีความเหมาะสม งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีทั้งจากเงินงบประมาณของโรงเรียนและบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียน
    3. ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ ในสาระอื่นร่วมกันและนักเรียนที่อยู่นอกโครงการก็สามารถมาใช้เรียนรู้เพิ่มเติมทั้งสื่อ และกิจกรรมในห้องและจะหมุนเวียนกันมาเพื่อทำการศึกษาโดยใช้โครงการและกิจกรรมที่จัดไว้เป็นสื่อ
    4. การประเมินผลของโครงการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมโครงการเป็นอย่างมาก มีความสุข กระตือรือร้น ครูช่วยเหลือกิจกรรมก็มีความตั้งใจในการทำงานร่วมกับนักเรียน และมีการบูรณาการร่วมกันกับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
    โดยสรุปพฤติกรรมทั่วไปของนักเรียน ครูและบุคลากรที่มีต่อโครงการ นักเรียนจะมีความสุข มีความสนใจและกระตือรือร้น มีความตั้งใจสูง ครูผู้รับผิดชอบก็มีความตั้งใจสูงในการผลักดันงานให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้วัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จากข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ตามโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (4.97) รองลงมาคือ นักเรียนมีการพัฒนาทักษะและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ (4.95) นักเรียนมีการพัฒนาทักษะและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และครูมีการบูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้ (4.93)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^