LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

การพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้KWLH plus

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย    นางสุชาดา ฤทธิโชติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย        2561
บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร” เพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร”เพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) ประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2561 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร” เพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคระห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน 2) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร”เพื่อส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี่ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน“เล่าขานตำนานเมืองนคร” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า
    1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร”สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการวิเคราะห์หลักสูตร สัมภาษณ์ครูผู้สอน และนักเรียน ได้ข้อสรุป ดังนี้ เป้าหมายของหลักสูตร ต้องการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญและใส่ใจในการจัดการเรียนการสอน ให้มีการพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ ความคิด คุณธรรมมีทักษะการคิดการวิเคราะห์และแก้ปัญหา มีจุดหมายให้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ต้องการเน้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนภาษาไทย มีความสนใจ เอาใจใส่ ใฝ่หาความรู้ มีความกระตือรือร้นและมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา รวมถึงความรู้สึกที่ดีต่อภาษาไทย ทำความเข้าใจศึกษาหลักเกณฑ์ทางภาษา ฝึกฝนให้มีทักษะ ฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ติดต่อสื่อสาร เสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพของชาติ ผู้บริหารและครูต้องการให้ใช้วิธีการ กระบวนการ เทคนิคการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้บริหารและครูมีความเห็นตรงกันว่า การนำประวัติความเป็นมา เรื่องราวเกี่ยวกับตำนานเมืองนคร มาให้นักเรียนได้อ่านและศึกษาเรียนรู้ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวช่วยปลูกฝังจิตสำนึกรักบ้านเกิด ส่งเสริมให้นักเรียนได้เห็นถึงเอกลักษณ์ ความเป็นท้องถิ่นของตน เกิดความซาบซึ้ง และร่วมกัน สืบทอด อนุรักษ์ความเป้นท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป ส่วนนักเรียน มีความต้องการให้ครูจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต้องการเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนานกับการเรียน ต้องการให้ครูใช้สื่อประกอบการสอนที่เร้าใจให้อยากเรียน และสามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี สาระสำคัญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH plus เป็นการจัดการเรียนรู้ยุทธวิธีการอ่านเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการทำความเข้าใจตนเอง มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตน มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อดึงมาใช้ภายหลังได้
    2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1 / E2) เท่ากับ 87.03 / 86.69 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 80 / 80
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร” มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    4. ผลการประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWLH plus ร่วมกับชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน “เล่าขานตำนานเมืองนคร เพื่อพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยรวม 4.65 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18 อยู่ในระดับมากที่สุด

yasumin 14 ส.ค. 2562 เวลา 19:06 น. 0 523
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^