LASTEST NEWS

28 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 2 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.จันทบุรี ตราด 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท

รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม ป.6

usericon

ผู้ศึกษา     ยุพาวดี วรวิบูลย์สวัสดิ์
ปีการศึกษา         2561
บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัดระยอง จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้วิธีการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระและและการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “WECSAR Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ 3.1) ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warming: W) 3.2) ขั้นที่ 2 ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Elicit and connect of the prior knowledge: E) 3.3) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construct of the knowledge: C) 3.4) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and analyse of knowledge: S) 3.5) ขั้นที่ 5 ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Application: A) และ 3.6) ขั้นที่ 6 ขั้นทบทวน (Review: R) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ โดยที่รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.97/81.99
    2. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 2.1) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3) หลังเรียนตามรูปแบบนักเรียนมี ความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
    3. ผลการประเมินรับรองรูปแบบของผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบมี ความเหมาะสม เป็นไปได้ และใช้ประโยชน์ได้จริง






Title        The Develop of English Instructional Model Based on Constructivism
        Theory     to Enhance Construction Knowledge Ability and Analytical
        Thinking Ability of Prathomsuksa 6 Students
Author        Mrs.Yupawadee Worawibusawat
Academic Year 2018

ABSTRACT

    The purposes of this research were to: 1) develop and determine the efficiency of English instructional model based on constructivism theory to enhance construction knowledge ability and analytical thinking ability of Prathomsuksa 6 students, 2) evaluate the effectiveness of English instructional model based on constructivism theory to enhance construction knowledge ability and analytical thinking ability of Prathomsuksa 6 students. The Samples comprised 36 Prathomsuksa 6 students at Tessabanwatlummaha chaichumpol School during the second semester of academic year 2018. Research instruments consisted of English instructional model based on constructivism theory to enhance construction knowledge ability and analytical thinking skills of Prathomsuksa 6 ability, a handbook for the model, lesson plans, a construction knowledge ability test, an analytical thinking ability test and questionnaire. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent and content analysis.
    The results were as follows:
    1. The English instructional model based on constructivism theory to enhance construction knowledge ability and analytical thinking ability of Prathomsuksa 6 students called “WECSAR Model” consisted of five components. There are (1) principles; (2) objectives; (3) the learning process which had six steps; a) Warming: W; b) Elicit and connect of the prior knowledge: E; c) Construct of the knowledge: C; d) (Share and analyse of knowledge: S e) Application: A; f) Review: R; (4) assessment and evaluations, and (5) the condition for using the WECSAR Model successfully. The efficiency of this model was 80.97/81.99
    2. The effectiveness of WECSAR model indicated that 2.1) after using the WECSAR model, the students’ construction knowledge abilities were higher than before receiving the instruction at a .01 significance level, 2.2) after using the WECSAR model, the students’ analytical thinking abilities were higher than before receiving the instruction at a .01 significance level, and 2.3) after using the WECSAR model, the students had opinion toward learning activities of the model at the highest level.
    3. The experts evaluated the WECSAR model and approved all 5 components of the model were found propriety, feasibility and utility.
missamm31 13 ส.ค. 2562 เวลา 14:04 น. 0 439
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^