LASTEST NEWS

07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) 07 ธ.ค. 2567ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ" 07 ธ.ค. 2567สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 07 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 9 - 17 ธันวาคม 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ 07 ธ.ค. 2567ยกเลิกประกาศแล้ว !!! โรงเรียนบ้านกุดแข้ ยกเลิกประกาศรับสมัครครูอัตราจ้าง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนเงินเดือน เพื่อตรวจทานแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนประกาศใหม่ 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านกุดแข้ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 3,000.- บาท/เดือน สมัคร 9-19 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567ศธ. - สพฐ. สรุปผลสอบกรณีครูเบญ พบดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ เจ้าตัวยอมรับ-ไม่ติดใจผลคะแนน 06 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 บาท ตั้งแต่ 16-20 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจใน

usericon

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจใน
ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน
นิทานพื้นบ้านประชาคมอาเซียน ความพึงพอใจต่อการอ่านภาษาไทย
แบบเพิ่มขยาย และความคงทนในการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย        นางศิริรัตน์ เต็มรัตน์
หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่
        อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ปีที่พิมพ์        2556

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน(SIRIRAT MODEL) และมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านนิทานพื้นบ้านประชาคมอาเซียน 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานต่อความพึงพอใจในการอ่านภาษาไทยแบบเพิ่มขยาย 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานต่อความคงทนในการเรียน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน
    กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านหาดใหญ่) จำนวน 30 คน โดยระยะเวลาในการทดลอง 45 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน 2) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านก่อนและหลังการใช้รูปแบบกิจกรรม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการอ่านภาษาไทยแบบเพิ่มขยาย และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้ Paired-Sample t-test เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของผู้เรียนก่อน และหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมรวมทั้งเปรียบเทียบผลการเรียนรู้หลังการใช้รูปแบบกิจกรรม และการสอบซ้ำเพื่อประเมินความคงทนในการเรียน และใช้การหาค่าขนาดอิทธิพลตรวจสอบขนาดผลต่างที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการใช้รูแบบกิจกรรม ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ค่าระดับความพึงพอใจต่อการอ่านแบบเพิ่มขยาย และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงาน และ ใช้ One-Sample t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจกับเกณฑ์ 3.50 ที่กำหนด
    ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า SIRIRAT MODEL มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนปฏิบัติการ (Setting : S, Idea : I, Roles : R) ขั้นระหว่างปฏิบัติการ (Input : I, Rubric :R, Activities : A) และขั้นหลังปฏิบัติการ (Test : T) มีประสิทธิภาพ 83.73/81.27 อยู่ในระดับดีมาก และคะแนนความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีขนาดผลเท่ากับ 6.39 หมายถึงระดับใหญ่มาก 2) ความพึงพอใจต่อการอ่านแบบเพิ่มขยายอยู่ในระดับมาก 3) คะแนนหลังเรียนและสอบซ้ำแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หมายถึงนักเรียนมีความคงทนในการเรียน และ 4) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบ (SIRIRAT MODEL) เป็นทางบวก
05 ก.ย. 2556 เวลา 09:39 น. 0 1,649
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^