LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้

usericon

ชื่อผลงาน    :    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนบ้านท่าเทศ
ผู้รายงาน    :    นางเสาวลักษณ์ พลพัง
         ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าเทศ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
ปีที่รายงาน    :    ปีการศึกษา 2561

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้าน ท่าเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินงาน ได้แก่ ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินงานโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ทั้งสิ้นจำนวน 69 คน ประกอบด้วย นักเรียนจำนวน 28 คน ครูจำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 28 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ,X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (, S.D.)

ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
    1.1 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครู พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
        1.2 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.63 , S.D.=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
     2.1 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
     2.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar 4.63 , S.D.=0.48) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ
        3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
        3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.56 , S.D.=0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
        4.1 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
            4.1.1 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.52 , S.D.=0.54) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.1.2 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54 , =0.55) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.1.3 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.55 , S.D.=0.55) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.1.4 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.66 , S.D.=0.53) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
            4.2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.63 , S.D.=0.55) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar =4.63 , S.D.=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
            4.2.4 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52 , =0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เพราะจะทำให้รู้ทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้าน เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกับทุกๆฝ่าย และจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
    2. ควรพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อวางแผนการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (Best Practice) ของสถานศึกษาต่อไป
    ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ในครั้งต่อๆไป เพิ่มประเด็นและด้านของการประเมินให้มากขึ้น มีการพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
2. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
    3. ควรศึกษางานวิจัยและการประเมินโครงการอื่นๆ นำมาประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไป เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

psulucky20 01 พ.ค. 2562 เวลา 11:59 น. 0 536
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^