LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการสอน 2P4S เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

usericon

    การพัฒนารูปแบบการสอน 2P4S เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็น และพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายู-บางกอก) ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างรูปแบบการสอน 2P4S เรื่อง ความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน 2P4S ที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอน 2P4S ในด้าน 3.1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 2P4S และ 3.2) ศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน จากการเรียนโดยรูปแบบการสอน 2P4S และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 2P4S กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการสอน 2P4S ซึ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจำเป็น จำนวน 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทีแบบไม่อิสระจากกัน (t – test Dependent) ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการสอน 2P4S เป็นรูปแบบการสอนที่บูรณาการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยมี 2 กระบวนการ (2 Processes) 4 ขั้นตอน (4 Steps) กล่าวคือ กระบวนการที่ 1) จัดทำโครงงาน 2) นำเสนอและประเมินผลโครงงาน และขั้นตอนที่ 1) ขั้นระบุปัญหา 2) ขั้นกำหนดแนวทาง 3) ขั้นศึกษาค้นคว้า 4) ขั้นสรุปและสังเคราะห์ความรู้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน 2P4S โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
2.รูปแบบการสอน 2P4S มีประสิทธิภาพ 89.73/88.33
3.ผลการใช้รูปแบบการสอน 2P4S พบว่า
3.1ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน 2P4S แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 2P4S มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3.2ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากเรียนโดยรูปแบบการสอน 2P4S แล้ว โดยรวม ความสามารถอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้าน มีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี ซึ่งสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ความสามารถในการระบุปัญหา ความสามารถในการอธิบายสาเหตุของปัญหา การระบุผลที่ได้จากการแก้ปัญหา และการระบุวิธีการแก้ปัญหา ตามลำดับ
4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน2P4S โดยรวม อยู่ระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และนักเรียนรู้จักวิเคราะห์โจทย์ บอกสิ่งที่โจทย์ให้และโจทย์ถามหา รองลงมา คือ ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา สามารถระบุปัญหา อธิบายสาเหตุ วิธีการแก้ปัญหา และผลที่ได้รับจากการแก้ปัญหา และนักเรียนรู้จักการเชื่อมโยงระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ทำให้สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามลำดับ
wasinee.tal 18 มี.ค. 2562 เวลา 11:01 น. 0 494
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^