LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2 26 เม.ย. 2567สพม.ปทุมธานี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปทุมธานี 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม

รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

usericon

คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน/การเรียนรู้ร่วมกัน/ความสามารถทางเทคโนโลยี/
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
สุกัญญา จันทร์แดง : การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยี และการเรียนรู้เป็นทีม
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีและการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีและการเรียนรู้เป็นทีม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีและการเรียนรู้เป็นทีม และ4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถทางเทคโนโลยีและการเรียนรู้เป็นทีม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับนักเรียน 3) รูปแบบการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน 4) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน 5) แผนการจัดการเรียนรู้ 6) บทเรียนออนไลน์ วิชาการสร้างงานด้วยคอมพิวเตอร์ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ 8) แบบประเมินความสามารถทางเทคโนโลยี 9) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน อยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันมีชื่อรูปแบบการเรียนการสอน “BLC 5 STEPS MODEL” มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 5) การวัดผลประเมินผล และ 6) ปัจจัยนำออก
    3. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน มีค่าคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบมีความสามารถทางเทคโนโลยี ในรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความสามารถทางเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.64) นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.59) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันภาพรวม พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.75)
    4. ผลการรับรองและนำเสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.60)



KEYWORD: BLENDED LEARNING MODEL/ COLLABORATIVE LEARNING/ TECHNOLOGY
COMPETENCE/ TEAM LEARNING
     SUKANYA JANDAENG : THE DEVELOPMENT BLENDED LEARNING MODEL USING COLLABORATIVE LEARNING TO TECHNOLOGY COMPETENCE AND TEAM LEARNING BEHAVIOR LESSON FOR LEVEL 6 PRIMARY SCHOOL STUDENTS.
    The purpose of this study were 1) study information blended learning model using collaborative learning to technology competence and team learning behavior lesson for 6 primary school students. 2) to develop blended learning model using collaborative learning to technology competence and team learning behavior lesson for 6 primary school students. 3) to conduct the experiment of blended learning model using collaborative learning to technology competence and team learning behavior. 4) to approve and propose the blended learning model using collaborative learning to technology competence and team learning behavior. The sample used in the study are. 38 Grade 6. Students 1th. Semester 2018 academic year were selected by Cluster Random Sample. The Research Instruments were a questionnaire for instructors, a questionnaire for need learning management teaching model, model assessment, lesson plans for the blended learning model using collaborative learning, learning management system google classroom, questionnaire for students satisfaction towards the blended learning model using collaborative learning, and the assessment form of technology, and the assessment form of team learning , The data were statistical analyzed by the following instruments percentage, mean, standard deviation, dependent t-test. Content analysis was employed in this research.
    The results of the study revealed as follows:
1.    The students need blended learning model using collaborative learning was at a high level.
2.    The blended learning model using collaborative learning name “BLC 5 STEP MODEL” which comprised 1) the input factors, 2) objective 3) content 4) process 5) evaluation and6) the output factors.
3.    The result of experimental from using the blended learning model using collaborative learning indicated that the competence of critical thinking statistically significant higher than before the implementation at .05 The competence of technology capabilities learning was a high level ( = 4.32 , SD = 0.64) The competence of team learning was a high level ( = 4.39, SD =0.59) The student were satisfied at a high level ( = 4.23, SD =0.75) of satisfaction with overall of the instructional process of the BLC 5 Steps model.
4.    The experts agree that a BLC 5 Steps Model was appropriate at a high level ( = 4.43, S.D. = 0.60)
kjandaeng 07 มี.ค. 2562 เวลา 06:06 น. 0 512
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^