LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

นางสาวทิพวัลย์ พงค์ดา

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานผลการใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี)

ผู้ศึกษา     นางสาวทิพวัลย์ พงค์ดา

สถานศึกษา    โรงเรียนบ้านแม่นะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

สังกัด        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

ปีการศึกษา    2561


บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่นะ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) จำนวน 22 แผน ใช้เวลาแผนละ 1 ชั่วโมง รวม 22 ชั่วโมง (รวมเวลาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test)) ใช้เวลาจัดการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 2561 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 17 มกราคม 2562 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัย (Multiple Choices) ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - test) และหลังเรียน (Post - test) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหาประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการเรียน 3) ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) จำนวน 6 เล่ม 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
    1) ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 91.18/91.14 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2) ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) เท่ากับ 0.7537 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 75.37
    3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ก่อนเรียน (Pre-test) มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 19.21 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 27.34 เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนสอบทั้งสองครั้งพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) อยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.49 )
    โดยสรุปผลการใช้ชุดฝึกทักษะการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) สามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการในการปฏิบัติขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้นดีขึ้น จึงขอเสนอให้ครูที่สอนวิชาดนตรีใช้เป็นสื่อหรือนวัตกรรมประกอบการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมกระบวนการปฏิบัติขลุ่ยพื้นเมืองล้านนาเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี     


maenoi_aomamp 04 มี.ค. 2562 เวลา 23:38 น. 0 603
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^