LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน

usericon

ชื่อผลงาน    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย    นางปราณี คนธรักษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด    โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา    2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม เกี่ยวกับสภาพปัญหาด้านการเรียนภาษาไทย และความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความสามารถทางการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมือง ลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence index: IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก ( r ) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร KR-20 ของคูเดอร์
ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson’s KR-20) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s coefficient alpha)

    ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และความต้องการในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน พบว่านักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอน มีความเห็นว่าปัญหาสำคัญที่สุดในการเรียนภาษาไทยคือปัญหาด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และนักเรียนส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเอง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอนแบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยหนังสือส่งเสริม การอ่าน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 ศูนย์รวมศรัทธาวัดพระมหาธาตุ เล่มที่ 2 ภูมิปัญญาชาติเครื่องถมเมืองนคร เล่มที่ 3 ขับกลอนตะลุงมุ่งบ้านนายหนัง เล่มที่ 4 สาธุชนไหลหลั่งแห่ผ้าขึ้นธาตุ และเล่มที่ 5 เยี่ยมเมืองชมตลาดสองฝั่งราชดำเนิน ในการจัดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นของการจัดกิจกรรม 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กิจกรรมการนำเสนอสื่อต่อชั้นเรียน (Class Presentations) ขั้นที่ 2 กิจกรรมการจัดกลุ่ม (Team) ขั้นที่ 3 กิจกรรมการทดสอบหลังเสนอบทเรียน (Quizzes) ขั้นที่ 4 กิจกรรมประเมินความสามารถรายบุคคล (Individual Improvement Scores) ขั้นที่ 5 กิจกรรมตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่มโดยพัฒนาคะแนนทั้งกลุ่ม (Team Recognition) 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ 5) การประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอน แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.67/84.22 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอน แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเล่าเรื่องเมืองลิกอร์ ร่วมด้วยเทคนิคการเรียนการสอน แบบร่วมมือ (STAD) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.78)

krupra95 04 ก.พ. 2562 เวลา 13:00 น. 0 570
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^