LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2 26 เม.ย. 2567สพม.ปทุมธานี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปทุมธานี 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม

การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทย

usericon

บทสรุปของผู้บริหาร

    การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 มีรูปแบบการประเมินโดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ได้แก่ 1. เพื่อประเมินด้านบริบท เกี่ยวกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ 2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับการจัดบุคลากร ทรัพยากร และปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ในการดำเนินการตามโครงการ 3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการ เกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการ และ 4. เพื่อประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มของบุคลากรที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โดยกำหนดกลุ่มประชากรเป็น ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 112 คน ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 8 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้แทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 97 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 23 คน นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 74 คน กลุ่มตัวอย่าง ผู้ประเมินกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินเป็น 2 ลักษณะ คือ วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ครู จำนวน 8 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการของเครซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แล้วสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 74 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินทั้งสิ้น จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามเชิงสำรวจที่จะใช้ในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert Scale) มี 5 ระดับ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 89 ชุด เก็บคืนได้ จำนวน 89 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 จากนั้นนำมาทำการตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบประเมิน แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในลักษณะการบรรยายประกอบตาราง
    ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทย โรงเรียนบ้านห้วยน้ำจาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X = 4.14 , S.D. = 0.04) เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่าด้านกระบวนการของโครงการ (Process) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับที่หนึ่ง (X = 4.18 , S.D. = 0.08) ลำดับที่สอง คือ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X = 4.17 , S.D. = 0.05) ลำดับที่สาม คือ ด้านผลผลิตของโครงการ (Product) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X = 4.15 , S.D. = 0.15) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านบริบทของโครงการ (Context) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X = 4.06 , S.D. = 0.10)
lanna4599 18 ธ.ค. 2561 เวลา 10:19 น. 0 689
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^