LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT

usericon

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT
เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ปทิตตา ขัตติยะ
ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านจาน

บทคัดย่อ
    การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนiชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
        ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 17 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample)

สรุปผลการศึกษา
    1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระ เล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 92.06/97.27 เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากนักเรียนผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 2
    3. ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.28 อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านสะกดคำรูปแบบ 4MAT เรื่อง สระเล่าเรื่องดี เด่น ดัง เมืองร้อยเอ็ด ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา    

    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติในมาตรา 22 หลักการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 23 สาระ การเรียนรู้ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา และมาตรา 24 กระบวนการเรียนรู้ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้xxxส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ การเรียน และอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และรอบรู้ รวมทั้งใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสถานที่ การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ครูผู้สอนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรมและนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตรและแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
    จากนโยบายดังกล่าวคณะกรรมการการศึกษาร้อยเอ็ด ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด “ภายในปี 2564 ประชากรผู้รับบริการทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย ได้รับ การพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และทุกภาคส่วนมีส่วนตามหลักธรรมาภิบาล” และเป้าประสงค์เพื่อสนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาและเร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล เพื่อส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และเพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมี ส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีกลยุทธ์คือ 1) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับ การบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับสากล 3) สำรวจความต้องการของสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ต่อระบบการเรียนการสอน 4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย 5) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะ สมรรถนะสู่ความเป็นมืออาชีพ 6) ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 7) จัดสรรและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดพัฒนาระบบการให้บริการทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ และ 8) ส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล (คณะกรรมการการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด, 2560 : 56-57)
    จากทิศทางการบริหารการศึกษาเชิงนโยบายดังกล่าว โรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “โรงเรียนบ้านจาน เป็นโรงเรียนคุณภาพด้านวิชาการ และเทคโนโลยี นักเรียนมีคุณธรรม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” มีพันธกิจ ดังนี้ 1) จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ทำการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้ก้าวทัน การเปลี่ยนแปลง 4) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย 6) จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 7) ฝึกอบรมบุคลากรด้านวิชาการ และด้านการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่องให้เข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ 8) ร่วมมือกับทุกองค์กร เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน และ 9) พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานโดยให้บุคลากรและชุมชนมีส่วนร่วม และมีเป้าประสงค์ คือ นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (โรงเรียนบ้านจาน, 2560 : 1- 2)
    จากนโยบายและทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ จึงได้มีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 4) ได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพในด้านสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยความสามารถในการคิด หมายถึง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 6-7) โดยในโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดสาระการเรียนรู้เป็น 8 กลุ่มสาระ โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม) จัด การเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา และวิกฤตของชาติ กลุ่มที่สอง (สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ) จัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิด และการทำงานอย่างสร้างสรรค์ โดยแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
    ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบธุรกิจการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากข้อมูลสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545 :3) ด้วยความสำคัญของภาษาไทยดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดให้วิชาภาษาไทยเป็น 1 ใน 8 ของกลุ่มสาระวิชา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เพราะตระหนักว่าการศึกษาของชาติทำให้คนในชาติสำนึกถึงความเป็นไทยอยู่เสมอ การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคน
    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นสาระการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ โดยแยกออกเป็น 5 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง ดู และพูด สาระที่ 4 หลักภาษาไทย และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม ซึ่งการอ่านนั้นนับเป็นสาระที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ที่มีทักษะในการอ่านสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างง่ายดาย ผู้ที่จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ย่อมต้องอาศัยการอ่านเป็นพื้นฐานในการบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต เนื่องจากข้อมูลความรู้ในปัจจุบันมักเผยแพร่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านช่วยให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ และสามารถนำความรู้มาปรับให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553 : 10)
    การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ การพัฒนาสติปัญญา จินตนาการ และอารมณ์ ดังที่ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) นักปรัชญาชาวอังกฤษกล่าวว่า “การอ่านทำให้คนเป็นคนโดยสมบรูณ์ (Reading maketh a full man)” เพราะฉะนั้น ผู้ที่อ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพย่อมได้เปรียบและมีชีวิตที่ก้าวหน้า การอ่านเปรียบเสมือนกุญแจสำหรับไขหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และถ้าได้นำเอาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาให้แก่ตน ชุมชน และสังคมแล้วบุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นพลเมืองดีของสังคม สังคมใดที่ประกอบด้วยบุคคลที่เป็นนักอ่าน สังคมนั้นก็ย่อมเป็นสังคมแห่งปัญญา และพัฒนาไปสู่ความเจริญได้อย่างรวดเร็ว (ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน, 2547: 21-22) โรงเรียนมีบทบาทสำคัญเป็นรากฐานสร้างความรู้ขั้นพื้นฐาน เพราะโรงเรียนเป็นแหล่งแรกที่จะสอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ พัฒนาทักษะทางการใช้ภาษา การศึกษาเบื้องต้นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยมีการอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญ การจัดการเรียนการสอนที่อยู่บนฐานของการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ วิธีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การมีห้องสมุดที่อุดมด้วยหนังสือและวัสดุการอ่านหลายรูปแบบ หลากหลายสาขาวิชา มีครูและบรรณารักษ์ที่เป็นนักอ่านและร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่าน เป็นสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการสร้างนิสัยรักการอ่าน พัฒนาการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ในปัจจุบันสังคมไทยเริ่มให้ความสนใจกับปัญหาการอ่านมากขึ้น โดยมี การประชุม สัมมนา อภิปราย เพื่อแสวงหาหนทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อส่งเสริมให้คนไทย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนอ่านหนังสือมากขึ้น มีความพยายามที่จะผลิตและเผยแพร่หนังสือเพิ่มขึ้น มีการจัดโครงการส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนต่าง ๆ ตลอดจนการสำรวจสถิติการอ่านของxxxต่าง ๆ องค์ประกอบอย่างหนึ่งของการอ่านคือ การเคลื่อนไหวสายตาในการอ่านและความเข้าใจความหมายอย่างถ่องแท้ ในการอ่านจะต้องมีการฝึกอยู่เสมอและถูกต้องตามวิธีการด้วย ความเข้าใจความหมายของการอ่านมีความหมายต่าง ๆ กัน เมื่อเอ่ยถึงการอ่านต้องมีความเข้าใจมาเกี่ยวข้องคือ เข้าใจในถ้อยคำที่อ่าน เช่น ถ้ามีเด็กเห็นคำว่า กา แล้วเปล่งเสียงว่า กา ก็เข้าใจว่าเป็นการอ่าน เช่นนี้เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพราะเด็กอาจไม่เข้าใจ กา ที่เปล่งเสียงออกมานั้น หมายถึง นกชนิดหนึ่งที่มีสีดำ ร้อง กา กา กา หรืออาจหมายถึง การที่ใช้ในการต้มน้ำ หรืออาจ ไม่เข้าใจทั้งสองความหมายก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยังไม่เรียกว่าการอ่าน แต่เป็นเพียงการเปล่งเสียงเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่นักเรียนควรเข้าใจกับความหมายของการอ่าน ถ้าเป็นการอ่านที่ต้องเข้าใจความหมายของคำ ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถอ่านเรื่องและสรุปเรื่องให้ถูกต้อง
    การอ่านแจกลูกสะกดคำ ซึ่งวิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2549 : 30) ได้อธิบายความหมายของการแจกลูกมีความหมาย 2 นัย นัยแรก หมายถึง การแจกลูกในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กง กน กม เกย เกอว กก กด และกบ การแจกลูกจะเริ่มต้นการสอนให้จำ และออกเสียงพยัญชนะและสระให้ได้ก่อน จากนั้นจะเริ่มแจกลูกในมาตราแม่ ก กา จะใช้การสะกดคำไปทีละคำไล่ไปตามลำดับของสระ แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ จึงเรียกว่าแจกลูกสะกดคำ แล้วอ่านคำในมาตราตัวสะกดทุกมาตราจนคล่อง จากนั้นจะอ่านเป็นเรื่องเพื่อประยุกต์หลักการอ่านนำไปสู่การอ่านคำที่เป็นเรื่องอย่างหลากหลาย นัยสอง หมายถึง การเทียบเสียง เป็นการแจกลูกวิธีหนึ่ง เมื่อนักเรียนอ่านคำได้แล้วให้นำรูปแบบคำมาแจกลูกโดยการเปลี่ยนพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะท้าย เช่น บ้าน สูตรของคำ คือ ให้เปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น ก้าน ป้าน ร้าน ล้าน ค้าน เป็นต้น หลักการเทียบเสียง มีดังนี้ 1) อ่านสระเสียงยาวก่อนสระเสียงสั้น 2) นำคำที่มีความหมายมาสอนก่อน 3) เปลี่ยนพยัญชนะที่เป็นพยัญชนะต้นและพยัญชนะเสียงท้าย 4) นำคำที่อ่านมาจัดทำแผนภูมิการอ่าน เช่น กา มา พา ลา ยา ค้า ม้า ช้า ล้า น้า บ้าน ก้าน ป้าน ร้าน ค้าน วิธีอ่านจะไม่สะกดคำให้อ่านเป็นคำตามสูตรของคำ เช่น อ่าน กา สูตรของคำคือ –า นำพยัญชนะมาเติมและอ่านเป็นคำ เช่น ยา ทา หา นา ตา อา การสอนแบบ การแจกลูกสำหรับนักเรียนแรกอ่าน (ชั้น ป.1 และ ป.2) มีหลักการสอน ดังนี้ 1) เริ่มจากสระที่ง่ายที่สุดคือ สระ –า 2) ใช้แผนผังความคิดแจกลูก โดยเลือกคำที่มีความหมายก่อน 3) ผู้เรียนอ่านออกเสียงคำและทำความเข้าใจความหมาย 4) นำคำจากแผนผังความคิดมาแต่งประโยค 5) อ่านประโยคที่แต่ง และ 6) เขียนประโยคที่แต่ง สรุปการแจกลูกในรูปแบบเช่นนี้สามารถที่จะแจกต่อไปได้อีก เช่น แจกสระ เ- แ- โ- ไ- ใ- เ-า ฯลฯ และนำมาแต่งประโยคโดยการบูรณาการกับคำที่ประสมกับสระอื่น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ และสามารถนำไปแต่งประโยคที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ เพราะเป็นการเรียนจากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องที่ยากและยังได้ให้ความหมายของการสะกดคำ ดังนี้ การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำเสียงพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน การอ่านสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน การอ่านสะกดคำจะต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่าน การสอนอ่านสะกดคำพร้อมกับเขียน ครูต้องให้อ่านสะกดคำแล้วเขียนคำไปพร้อมกัน การสอนสะกดคำโดยการนำคำที่ความหมายมาสอนก่อน เมื่อสะกดคำจนจำได้แล้วจึงแจกคำ เพราะการสะกดคำจะเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่โดยเริ่มจากคำง่าย ๆ แล้วบอกทิศทางการออกเสียงแล้วแจกคำโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น
    แนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาทักษะการอ่าน แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การเตรียมการอ่าน คือ การสร้างพื้นฐานความคิดให้กับผู้อ่าน ผู้อ่านจะต้องการชื่อเรื่อง หัวข้อย่อยจากสารบัญ คำนำ เพื่อให้ทราบจุดมุ่งหมายของหนังสือที่อ่าน ขั้นที่ 2 การอ่าน ผู้อ่านจะใช้ความรู้จากการอ่านคำ ความหมายของคำมาใช้ในการอ่าน รวมทั้งการรู้จักแบ่งวรรคตอน เรียนรู้วิธีการอ่านให้เร็ว การสะกดคำ และการตีความหมายของคำ ขั้นที่ 3 การแสดงความคิดเห็น คือ การให้ผู้อ่านจดบันทึกข้อความที่สำคัญ แล้วเขียนแสดงความคิดเห็นข้อความที่อ่าน ตอนใดที่ไม่เข้าใจให้อ่านซ้ำเพื่อทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ขั้นที่ 4 การอ่านสำรวจ โดยการให้อ่านตอนใดตอนหนึ่ง ตรวจสอบคำ ภาษาที่ใช้ โครงเรื่องของหนังสือ สำรวจเชื่อมโยงเหตุการณ์และความสำคัญของเรื่อง ขั้นที่ 5 การขยายความคิด โดย การให้ผู้อ่านสะท้อนความเข้าใจในการอ่านบันทึกข้อคิดเห็น คุณค่าของเรื่อง ความรู้สึกจากการอ่าน เขียนบันทึกรายงานการอ่าน เพื่อให้ได้ความรู้ที่กว้างขวางขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545ข : 21- 30)
    จากเหตุผลที่กล่าวมาในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการสอนการอ่านนั้นไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งในปีการศึกษา 2559 ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งโรงเรียนบ้านจาน อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 จัดการศึกษาเพียง 1 ห้องเรียน พบว่า นักเรียนจำนวน 18 คน ไม่ผ่านสาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้ ความคิด เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและนิสัยรักการอ่าน ตัวชี้วัด 1) การอ่านออกเสียง 2) ตัวชี้วัดอธิบายความหมายของคำและข้อความที่อ่านในสาระการเรียนรู้ เรื่อง ตัวสะกดที่เกิดจากสาเหตุที่เป็นประเด็นปัญหาคือ อ่านออกเสียง ได้แก่ อ่านไม่ออก คำที่ใช้ตัวสะกด อ่านคำผิด อ่านคำหรือข้อความที่มีความหมายประกอบผิด อ่านแยกคำหรืออ่านแบ่งวรรคตอนผิด การอ่านออกเสียงผิด เป็นต้น หากไม่เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา จะส่งผลการเรียนรู้ภาษาไทยเพราะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นบุคคลรักการอ่าน รักการค้นคว้า รักการเรียนรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม รักษาสุขภาพกายใจ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม รักวัฒนธรรมไทย และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ดังที่ ชุติวรรณ (2553) กล่าวว่า ทักษะการอ่านสำหรับการเรียนในชั้นประถม เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้เพราะการเรียนวิชาต่าง ๆ ทุกระดับต้องอาศัยความสามารถทางการอ่านทั้งสิ้น ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติแห่งชาติ (NT) โดยสำนักทดสอบทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ (2555) พบว่า การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเห็นได้จากการรายงานผลการทดสอบ (NT) ระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ปี 2555 วิชาภาษาไทย เด็กไทยอ่านไม่ออก-อ่านไม่คล่อง คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.95 เนื่องจากปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยนั้น นักเรียนมีความกังวลในเรื่องของการอ่านหนังสือไม่ออก โดยเฉพาะคำที่มีตัวสะกดขาดทักษะการอ่าน อ่านช้า ขาดความสนใจในการอ่าน ไม่ชอบอ่านข้อความที่ยาวเพราะเห็นว่ายาก และน่าเบื่อ การสอนเด็กอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ผิดหลักภาษาไทย เด็กสะกดคำไม่ถูกต้องทำให้ความหมายของคำผิดไป เด็กไม่มีนิสัยรักการอ่าน อ่านไม่ได้หรืออ่าน ไม่ออก เด็กจำรูปคำไม่ได้ สะกดตัวไม่ถูก และไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้น ๆ อ่านไม่ถูกวิธี คือ เวลาอ่านในใจปากขมุบขมิบ มีเสียงพึมพำในลำคอ ชี้ตามตัวอักษร อ่านช้า อ่านทีละคำ อ่านแล้วไม่สามารถ จับใจความของเรื่องที่อ่านได้ กระทรวงศึกษาธิการ (2551) ครูจำเป็นต้องหาวิธีช่วยเหลือเด็กที่ไม่สามารถผ่านการทดสอบตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กมีความกระตือรือร้นสนใจในการเรียน โดยใช้เทคนิคในการสอนอย่างหลากหลาย มีความเข้าใจในเนื้อหาและถ่ายทอดมวลประสบการณ์ต่าง ๆ สอดแทรกกิจกรรมที่ท้าทายชวนให้เด็กกระตือรือร้น ไม่น่าเบื่อหน่าย สนใจและตั้งใจเรียน ซึ่งการสอนในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องการให้เด็กฟังก่อนแล้วให้เด็กอ่านตาม อ่านแจกลูก อ่านสะกดคำ ตามความเหมาะสมหากให้เด็กอ่านแต่แรกโดยมิได้เตรียมความพร้อม เด็กจะไม่อยากอ่านเพราะอ่านไม่ได้และเกิดความเบื่อหน่าย การอ่านสะกดคำ ผู้ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้คือ ครูผู้สอน ทั้งนี้เพราะครูผู้สอนมีหน้าที่โดยตรงในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก กล่าวคือ ถ้าครูผู้สอนจัดกิจกรรมครบอย่างหลากหลาย เช่น กิจกรรมร้องเพลง ปรบมือ เคาะจังหวัด เกม แสดงละครปริศนาคำทายและการแข่งขันตอบคำถาม และมีสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพนี้ ก็จะส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จด้านการอ่านสะกดคำ จึงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการสอนของครู และสื่อจากการศึกษาเอกสารวิชาการและวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำ
    จากการวิจัยของ ปริญญาภรณ์ สายธิตา (2550 : 112) ที่ศึกษาผลการใช้แผนการสอน 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 27 คน พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนแบบ 4MAT ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังสูงกว่าก่อนเรียน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนตามแนวของกรมวิชาการ ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนแบบ 4MAT แตกต่างจากนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนตามแนวของกรมวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการสอนแบบ 4MAT มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของรอหานี สาหวี (2553 : 65) ได้ทำการศึกษาวิธีการสอนแบบ 4MAT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีสอบแบบ 4MAT และวิธีสอนแบบปกติไม่แตกต่างกัน แต่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบ 4MAT สูงกว่าวิธีสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากวิธีการสอนที่มีคุณภาพแล้ว สิ่งที่สำคัญต่อการเรียนการสอนที่เอื้อให้ครูประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ แรงจูงใจใน การเรียนรู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ถือว่าเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่จะส่งผลให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งทางด้านการงานและการเรียน ดังที่ Bruner (1961 ; อ้างถึงในพระมหาก้องนภา สิงห์ศร, 2560 : 9) ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประมาณแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงนั้นจะเป็นผู้ที่พยายามบากบั่นกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จเพื่อบรรลุมาตรฐานของตนเองมากกว่าจะหลีกเลี่ยง และเลือกงานที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง ดังที่พรพรรณ แก้วฝ่าย (2556 : 80) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยซัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 118 คน พบว่า ปัจจัยด้านนักเรียน ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ท
supanpitch 08 พ.ย. 2561 เวลา 14:18 น. 0 811
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^