LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567สพป.นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 46 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 35 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาE

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย        นางลัดดาวัลย์ บุญเรือง
หน่วยงาน    โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ    2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัด
กาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 12 ห้องเรียน จำนวน 506 คน จัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถของผู้เรียน ระหว่างเด็กเก่ง เด็กปานกลาง และเด็กอ่อน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน
ซึ่งแต่ละห้องมีการจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถ
    ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อเรียกว่า (MALAE Model) มีองค์ประกอบของรูปแบบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติกิจกรรมตามภาระงาน และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เนื้อหา ได้แก่ สาระการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ32102 หน่วยการเรียนรู้ Take a Break และหน่วยการเรียนรู้ Visions of the Future 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) กระตุ้นความสนใจ (Motivating: M) (2) เรียนรู้กระบวนการคิดวิเคราะห์ (Analyzing: A) (3) เรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: L) (4) ประยุกต์ใช้กระบวนการคิด (Applying Thinking Process: A) (5) ประเมินผล
(Evaluating: E) 5) การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4 ด้าน ได้แก่ การจับคู่ การจำแนก การระบุข้อผิดพลาด และการสรุปความ และ 6) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในด้านภาษาสำหรับการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ ใช้ภาระงานหรือกิจกรรมที่มอบหมายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สมาชิกในกลุ่มควรประกอบไปด้วยผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกัน เนื้อหาต้องมีประเด็นให้คิดวิเคราะห์ ซึ่งลักษณะของเนื้อหาต้องให้ผู้เรียนสามารถจับคู่ จำแนก ระบุข้อผิดพลาด และสรุปความ พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.20/85.00
     2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (MALAE Model) มีทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar =4.71, S.D = 0.45)
kkungtyy 07 พ.ย. 2561 เวลา 20:49 น. 0 749
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^