LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้ ฯ

usericon

ชื่อเรื่อง             การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
            เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย            ศรัญญา บุตรวงษ์
ตำแหน่ง             ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา    โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์            2561

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิด
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
(2) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา (4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ(5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม
จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 ห้อง จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เซต
(2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา มีค่าความยากระหว่าง 0.33-0.43 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.61-0.68 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.86 เป็นแบบอัตนัยชนิดเขียนแสดงคำตอบ จำนวน 6 ข้อ
(3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากระหว่าง 0.50-0.86 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.73 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)


    ผลการวิจัย พบว่า
        1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ขั้นปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิด
4) ขั้นนำความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 5) ขั้นสรุปเนื้อหา องค์ความรู้ องค์ประกอบที่ 2
ระบบทางสังคม องค์ประกอบที่ 3 หลักการตอบสนอง และ องค์ประกอบที่ 4 ระบบสนับสนุน
        2. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
        3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจของต่อการจัดการเรียนรู้
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
pruchya11 28 ส.ค. 2561 เวลา 10:31 น. 0 574
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^