LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

KIDS-DE Model

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย    :     ผลการวิจัยการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ KIDS-DE Model
            โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560
ชื่อผู้วิจัย        :     นายกิตติ์ภูมิ คงศรี
ปีการศึกษา    :    2559-2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ KIDS-DE Model โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560 2. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ KIDS-DE Model โรงเรียน รัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560 3. เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียน รัตภูมิวิทยา หลังการพัฒนา โดยใช้ KIDS-DE Model ปีการศึกษา 2559 และ 2560 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ KIDS-DE Model โรงเรียนรัตภูมิวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2559และปีการศึกษา 2560 จำนวน 769 คน ครู ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 56 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 769 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 4 ฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .973-.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า
1.     สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ KIDS-DE Model โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =3.52, S.D.= 0.50) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการ ขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( =3.59, S.D.= 0.72) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( =3.52, S.D.= 0.57) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.45, S.D.= 0.57)
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, S.D.= 0.57) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.= 0.57) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.46, S.D.= 0.57,0.56) สอดคล้องกับสมมุติฐาน
2.     สรุปผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ KIDS-DE model โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า
    ปีการศึกษา 2559 โดยรวมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D.= 0.68) และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีส่วนร่วมมากที่สุด ( = 4.30, S.D.= 0.90) อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.29, S.D.= 0.91) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มครู มีส่วนร่วมต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.20, S.D.= 0.80)
    ปีการศึกษา 2560 โดยรวมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D.= 0.56) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D.= 0.58) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู ( = 4.61, S.D.= 0.58) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีส่วนร่วมต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( = 4.52, S.D.= 0.59) สอดคล้องกับสมมุติฐาน
3.     ผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ KIDS-DE Model โรงเรียนรัตภูมิวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 และ 2560 พบว่า
ปีการศึกษา 2559 พฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ 1) การมีคุณธรรมจริยธรรม 2) การมีระเบียบวินัย 3) การมีจิตสำนึกที่ดี 4) การรัก การเรียนรู้ 5) มีความรักผูกพันเอื้ออาทร ห่วงใยบุคคลในครอบครัว 6) มีความเป็นไทย และวัฒนธรรมไทย 7) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี 8) มีวิถีแบบประชาธิปไตย 9) ไม่มั่วสุมกับอบายมุข มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 82.57-86.93
ปีการศึกษา 2560 พฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ 1) การมีคุณธรรมจริยธรรม 2) การมีระเบียบวินัย 3) การมีจิตสำนึกที่ดี 4) การรักการเรียนรู้ 5) มีความรักผูกพันเอื้ออาทร ห่วงใยบุคคลในครอบครัว 6) มีความเป็นไทย และวัฒนธรรมไทย 7) มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี 8) มีวิถีแบบประชาธิปไตย 9) ไม่มั่วสุมกับอบายมุข มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ ระหว่าง 84.94-88.53 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมความเป็นคนดีของนักเรียน ปีการศึกษา 2560 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2559 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมติฐาน
4.    สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ KIDS-DE Model โรงเรียนรัตภูมิวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
    ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 3.50, S.D. = 0.40) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 3.58, S.D. = 0.60) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 3.54, S.D. = 0.59) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.26, S.D. = 0.43)
    ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.42) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.43) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.54) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ( = 4.51, S.D. = 0.56)สอดคล้องตามสมมติฐาน

ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยวิธีการวิจัยการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ KIDS-DE Modelโรงเรียนรัตภูมิวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่น ของการมีแบบอย่างที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนต่อไป
1.    ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1    ด้าน Kindness of Friends (เพื่อนดี) เนื่องจากเพื่อนคือบุคคลที่นักเรียนคบหาคุยกัน คอยให้คำปรึกษาในทุกๆ เรื่อง คอยชักชวนไปในทางที่ดีเช่น ชวนกันอ่านหนังสือ ช่วยกันติวข้อสอบ ถ้าคบเพื่อนที่ดีจะทำให้ชีวิตมีอนาคตสดใสมีการงานที่ดี แต่ถ้าคบเพื่อนชั่วชีวิตเราจะตกต่ำลงเนื่องจากจะชวนกันทำในสิ่งที่ไม่ดีดังนั้นการคบเพื่อนมีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตของวัยรุ่นเพราะเพื่อนจะมีอิทธิพลในเรื่องความคิดความเชื่อตลอดจนให้คำปรึกษา หรือแนะนำในเรื่องต่างๆ รวม ทั้งพฤติกรรมทางเพศ และอาจชักจูงไปในทาง ที่ดีและไม่ดี ดังนั้นการเลือกคบเพื่อนที่ดีจะช่วยแนะนำเรื่องพฤติกรรมทางเพศในทางที่เหมาะสม
1.2    ด้าน Ideal Teachers (ครูดี) เนื่องจากครูไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเพื่อจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนาทั้งทางด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมด้วยดังนั้น ครูต้องเป็นผู้ที่ให้ความอบอุ่นแก่นักเรียน และนักเรียนส่วนมากจะมีครูอย่างน้อยหนึ่งคนที่ยึดเป็นต้นแบบและนักเรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดมการณ์ของครูที่นักเรียนยึดเป็นต้นแบบจะติดตามไปตลอดชีวิต
1.3    ด้าน Delightful Family (ครอบครัวดี) เนื่องจาก ครอบครัว เป็นสถาบันแห่งแรกที่อบรมทางด้านจิตใจและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพให้แก่นักเรียน โดยประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก ถือเป็นสถาบันหลักในการดูแลและเลี้ยงดูถ้าครอบครัวใดที่พ่อแม่และบุคคลในครอบครัวมีการศึกษาและ ถ่ายทอดสิ่งที่ ดีมีคุณค่ากับเด็ก เด็กก็จะได้รับการซึมซับสิ่งที่ดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แต่ถ้าเด็กที่เกิดในครอบครัวที่เป็นแบบอย่างในทางตรงข้าม เช่น พ่อ แม่ หรือบุคคลในครอบครัวมีการศึกษาน้อย ยากจน พ่อแม่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น พูดจาหยาบคาย ไม่สุภาพ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมเด็กก็จะ ซึมซับเอาพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนั้นมาเป็นพฤติกรรมของตนเอง ดังนั้น ครอบครัวจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมต่างๆ ของนักเรียน
1.4    ด้าน School Administration (การบริหารจัดการดี) เนื่องจากโรงเรียน ต้องกำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจน เพื่อสร้างเสริมและปลูกฝังนักเรียนให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง สามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียนและของสังคมทั่วไป สามารถควบคุมดูแลตนเอง และสังคมส่วนรวมให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข อันจะมีผลทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ไปด้วยความสงบเรียบร้อยและนักเรียนเองก็สามารถทำการศึกษาเล่าเรียนได้ด้วยความราบรื่น ปราศจากความเดือดร้อนวุ่นวาย อันเกิดจากการที่นักเรียนขาดวินัยขาดความรับผิดชอบ ยิ่งกว่านั้นการที่โรงเรียนสามารถปลูกฝังให้นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกที่ควรด้วยตัวของเขาเอง ย่อมจะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศต่อไปด้วยดี อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเองและแก่สังคมส่วนรวมในอนาคต
1.5    ด้าน Developed Environment (สื่อ บรรยากาศ และแหล่งเรียนรู้ดี) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่จะต้องพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สื่อต้นแบบที่สำคัญทั้งภายในและนอกโรงเรียน หรือถ้าหากนักเรียนอยู่ในชุมชนที่มีระบบการจัดการที่ดีมีแบบอย่างทาง พฤติกรรมที่เหมาะสม และ มีกิจกรรมที่กระตุ้นหรือส่งเสริมเด็กและเยาวชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนด้วยแล้ว จะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีจิตสาธารณะ คิดเพื่อส่วนรวมและชุมชนที่ตนเองอาอาศัยอยู่ ช่วยกันพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าว หรือสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของ การเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตต่อไป
1.6    หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความคงทนถาวรของความเป็นคนดีของนักเรียนและ ทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโรงเรียน เช่นในด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงของครู การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายแห่งรัฐ อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
2.    ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1     ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนคดีของนักเรียนอย่างยั่งยืน
2.2     ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นคนดีของนักเรียนกับสภาพแวดล้อมของบ้าน โรงเรียน วัด และหรือมัสยิด ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
2.3    ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของการเป็นคนดีของนักเรียนที่มีต่อชุมชนและสังคมโดยรอบสถานศึกษา







satamtam99 28 ส.ค. 2561 เวลา 08:55 น. 0 503
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^