LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567เช็ก 48 สาขาวิชาเอก ใช้รับสมัครสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(25 เมษายน 2567) สพฐ.มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการสอบแข่งขันฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กรุงเกรุงเทพมหานคร 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community)
โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
ชื่อผู้รายงาน     นางสาวลภัสรดา ทิพย์แก้ว
หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ โดยใช้การประเมิน รูปแบบ ซิปป์ (CIPP Evaluation Model) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องสภาวะแวดล้อม ประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น ประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านกระบวนการและเพื่อประเมินความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ โดย มีการประเมิน ๔ ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ด้านกระบวนการ(Process) ด้านผลผลิต(Product)ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔ คน ครู จำนวน ๖๐ คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ จำนวน ๑๒ คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ จำนวน ๒๕ คน รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ คน
    วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ มีดังนี้
    ๑. เพื่อประเมินบริบทสภาวะแวดล้อม Context)ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
    ๒. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input) ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
    ๓. เพื่อประเมินกระบวนการ(Process) ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
    ๔. เพื่อประเมินผลผลิต(Product)ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์

     การประเมินโครงการ
ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ในภารวม) พบว่าระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่วมดำเนินการโครงการฯของนักเรียน(ในภาพรวม) พบว่าระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เช่นกัน โดยแยกตามรูปแบบ (CIPP Evaluation Model) ๔ ด้าน ดังนี้
ผลการศึกษา มีดังนี้
    ๑. การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านสภาพแวดล้อม ( C : Context Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็น ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด

    ๒. การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านปัจจัยนำเข้า (I : Input Evaluation) โดยแยกสรุปความคิดเห็นดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความความพร้อมในการดำเนินการโครงการฯ ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพร้อมในการร่วมดำเนินการโครงการฯ ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

    ๓. การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็น ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความความพร้อมในการดำเนินการโครงการฯ ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพร้อมในการดำเนินการโครงการฯ ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

    ๔ . การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านผลผลิต(P: Product Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็น ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความความพึงพอใจในการร่วมดำเนินการโครงการฯ ด้านผลผลิต ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจในการร่วมโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^