LASTEST NEWS

03 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 พ.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 11 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพม.ขอนแก่น ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 29 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่ 2 – 9 พฤษภาคม 2567 02 พ.ค. 2567สพฐ. ห่วงใยแนะแนวทางการป้องกัน ดูแล ครูและนักเรียน ในสภาพอากาศร้อนจัด

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD)

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD)
            เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย      นางวราภรณ์ ถาบุตร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
หน่วยงาน โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม    
         สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26    
ปีที่พิมพ์ 2561
        
บทคัดย่อ

    แบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณค่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูดำเนินการ
จัดการเรียนการสอนเป็นไปตามขั้นตอน สามารถถ่ายทอดเนื้อหาประสบการณ์ที่ซับซ้อนที่เป็นนามธรรมได้ ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และยังเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เน้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันในการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย นักเรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเห็นคุณค่าความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/15 จำนวน 40 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสารคามพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบ 2 ขั้น (Two – stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและ
ร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 แผน รวม 16 ชั่วโมง (2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.69 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.72 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 (4) แบบวัดความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.59 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
    ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
        1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 88.89/80.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
        2. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6952 คิดเป็นร้อยละ 69.52
        3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความคงทนในการเรียนรู้
        4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก
        โดยสรุปในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์แบบร่วมมือ (STAD) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถส่งเสริมความก้าวหน้าในการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความคงทนในการเรียนรู้ นักเรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียนรู้ และสามารถนำไปประกอบการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

krumax.spk 25 มิ.ย. 2561 เวลา 19:49 น. 0 526
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^