LASTEST NEWS

19 ก.ย. 2567สพฐ. แจง !!! หลังถูกโซเชียลวิจารณ์การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน 19 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจงศิลปหัตถกรรมนักเรียน แยกการแข่งวิชาการ ลดภาระครู-นักเรียน ไม่ซ้ำซ้อน . 18 ก.ย. 2567ศธ.ย้ำ 20 ก.ย.นี้รู้ผลสอบ "ครูเบญ" ชี้อย่าตัดสินคนแค่เพราะนามสกุลดัง 18 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 18 ก.ย. 2567โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย​ รับสมัครครูช่วยสอน 6 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน 2567 18 ก.ย. 2567โรงเรียนซำสูงพิทยาคม รับสมัครครูช่วยสอน 5 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 26 กันยายน 2567 16 ก.ย. 2567มาแล้ว!! ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567 ให้ดำเนินการแข่งขันโดยสิ้นสุดที่ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 16 ก.ย. 2567สพฐ. เร่งสอบข้อเท็จจริง ครูสาวสอบได้ที่ 1 ชื่อหาย ย้ำต้องโปร่งใส ตรงไปตรงมา 16 ก.ย. 2567ยันไม่มีมวยล้มต้มคนดู! ‘ครูเบญ’ บุกศธ.ทวงความเป็นธรรมสอบครูได้ที่ 1 ชื่อล่องหน

รายงานการใช้ชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

usericon

ชื่อเรื่อง         รายงานการใช้ชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ
    และการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์
    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ผู้รายงาน    นางสาวอมรรัตน์ แสนตา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการ ทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและ หลังเรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบร่วมมือและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนอนุบาลเถิน (ท่านางอุปถัมภ์) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง ใช้แผนการทดลองแบบศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ ชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์, แผนการจัด การเรียนรู้, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมืองประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.92/89.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ แบบร่วมมือหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมือง ประเทศเพื่อนบ้านของไทย รายวิชา ส 16102 ประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้ แบบร่วมมือ อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^